Home » ดอกเบี้ยบ้านคิดยังไง รู้ไหม กู้บ้าน 3 ล้านต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารเท่าไร? | ดอกเบี้ยลอยตัว คือ

ดอกเบี้ยบ้านคิดยังไง รู้ไหม กู้บ้าน 3 ล้านต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารเท่าไร? | ดอกเบี้ยลอยตัว คือ

ดอกเบี้ยบ้านคิดยังไง รู้ไหม กู้บ้าน 3 ล้านต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารเท่าไร?


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ดอกเบี้ยบ้านคิดยังไง รู้ไหม กู้บ้าน 3 ล้านต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารเท่าไร?
รับชมคลิปเต็มที่
เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!
https://youtu.be/UdUpk9sNPOk
หนี้บ้านสำหรับหลายๆคนแล้วถือว่าเป็นหนี้ก้อนที่ใหญ่ที่สุดและระยะเวลาการผ่อนชำระยาวนานที่สุดเลยก็ว่าได้นะครับ เพราะระยะเวลาที่ธนาคารเขาให้เราผ่อนบ้านเนี่ยเริ่มตั้งแต่ 20 ไปจนถึง 40 ปีเลยก็มีครับ ซึ่งเอาเข้าจิงๆถ้าเราผ่อนไปเรื่อยๆตามที่ธนาคารเขาบอกนี่คือทำงานจนเกษียนเลยนะครับกว่าหนี้ของเราจะหมด
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือไม่ใช่แค่เรื่องระยะที่นานหรอกนะครับ การผ่อนบ้านให้จำไว้เลยนะครับว่ายิ่งเราผ่อนนานเท่าไร เรายิ่งเสียดอกเบี้ยมากขึ้นเท่านั้น เพราะอะไรหรอครับเพราะว่าการคิดดอกเบี้ยบ้านเนี่ยเขาจะคิดแบบ ลดต้นลดดอกครับ อธิบายง่ายๆว่าดอกเบี้ยจะคิดตามเงินต้นครับ ผมได้ทำคลิปอธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างระเอียดแล้วลองเข้าไปดูคลิปในช่องได้นะครับ

ดังนั้นไอการที่เราผ่อนบ้านเป็นเวลา 30 40 ปีเนี่ยนอกจากมันจะเป็นภาระระยะยาวมากๆแล้วเรายังต้องจ่ายดอกเบี้ยอีกเยอะมากๆด้วยครับเดี๋ยวจะหาว่าผมเว่อร์จนเกินไป ผมจะคำนวนออกมาให้ดูกันเลยดีกว่าครับ
สมมุติว่าผมซื้อคอนโดราคา 3 ล้านบาท ผมผ่อน 30 ปี โดยผมกำหนดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งสัญญาอยู่ที่ 7% เหมือนที่ผมบอกทุกครั้งนะครับว่าที่ผมใช้ 7% เพราะเอาเอาเฉลี่ยทั้งสัญญาและปัดขึ้นนิดนึงเป็นค่าเผื่อเหลือความปลอดภัยเวลาคำนวน ดังนั้นถ้าเราเอาข้อมูลเหล่านี้เข้าไปคิดคำนวนในโปรกแกรม EZ Financial Calculator เราจะได้ออกมาว่า
เราจะต้องผ่อนธนาคารเดือนละ 19,959 บาท/เดือน
ถ้าผ่อนครบ 30 ปี เราจะต้องจ่ายค่างวดทั้งหมด = 7,184,265 บาท
ทุกคนไม่ได้ฟังผิดไปหรอกนะครับ กู้มาสามล้าน จ่ายจริง 7 ล้าน
นั่นหมายความว่าดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญานี่คือ 4 ล้านกว่าบาทเลยครับ
ดอกเบี้ยบ้าน หนี้บ้าน คิดดอกเบี้ย กู้บ้าน

ดอกเบี้ยบ้านคิดยังไง รู้ไหม กู้บ้าน 3 ล้านต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารเท่าไร?

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องทำอะไรบ้าง? สรุปในคลิปเดียว


ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องทำอะไรบ้าง? สรุปในคลิปเดียว
สวัสดีครับวันนี้เราจะมาคุยกันถึงหัวข้อที่สำคัญมากๆเลยนะครับสำหรับคนที่กำลังผ่อนบ้านมาสักพักนึงแล้ว เรื่องที่เราจะคุยกันคือถ้าเกิดว่าเราอยากจะรีไฟแนนซ์บ้านเนี่ยเราต้องทำยังไบ้าง บางคนไม่รู้ยังไงจับจ้นชนปลายไม่ถูก ผมเลยจะมาขอเล่ากระบวนการ รีไฟแนนซ์บ้าน ทั้ง Process ตั่งแต่เริ่มต้นยันจบสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยรีไฟแนนซ์มาก่อนเลยนะครับ
รีไฟแนนซ์คืออะไร
รีไฟแนนซ์คือการขอสินเชื่อก้อนใหม่จากธนาคารครับ อาจจะเป็นธนาคารเดิมที่เรากู้อยู่หรือไปยื่นขอธนาคารใหม่ก็ได้ครับ นั่นหมายความว่าเราจะเปลี่ยนหนี้เดิมทั้งก้อน กลายมาเป็นหนี้ก้อนใหม่เลยครับ พูดง่ายๆว่าขอกู้ใหม่อีกรอบคับ คำถามคือจะเปลี่ยนธนาคารทำไมใช่ไหมครับ
คือโดยปรกติการที่เราาไปกู้สินเชื่ที่อยู่อาศัย ทางธนาคารส่วนมากจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยในช่วง 1 3 ปีแรกอัตราดอกเบี้ยจะค่อนข้างจะต่ำครับเช่น คิดคงที่ 3 ปีแรก 3 % และในปีที่ 3 เป็นต้นไปดอกเบี้ยสินเชื่อของเราก็จะปรับเป็นแบบลอยตัวตามค่า MRR หรือที่เรียกว่าดอกเบี้ยลอยตัวนั่นแหละครับ
การรีไฟแนนซ์นี่เองแหละครับจะเป็นกระบวนการที่ช่วยลดอัตราดอกเบี้ยให้มันกลับมาถูกเหมือนกับในช่วง 3 ปีแรก โดยการเปลี่ยนธนาคาร หลักการง่ายๆแค่นี้เองครับ ซึ่งจริงๆแล้วข้อดีของการรีไฟแนนซ์ไม่ใช่แค่ลดดอกเบี้ยนะครับ เรายังสามารถเพิ่ม option เสริมอื่นๆอีกครับไม่ว่าจะเป็น ปรับโครงสร้างหนี้ ,กู้เอาเงินส่วนต่างออกมาใช้ หรือ ขยายระยะเวลาผ่อน ก็สามารถทำได้หมดเลยครับ สรุปสั้นๆว่ากระบวนการรีไฟแนนซ์บ้านเป็นกระบวนการที่สำคัญมากๆสำหรับคนที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ครับ
สำหรับรายละเอียดการ รีไฟแนนซ์เพิ่มเติมเพื่อนๆสามารถอ่านได้ที่

อยากรีไฟแนนซ์บ้านต้องทำยังไง
1.Check เงื่อนไขธนาคารเก่า
ก่อนอื่นเลยนะครับ เราต้องเช็คเงื่อนไขแรกก่อนเลยครับว่า เงื่อนไขของธนาคารที่เราผ่อนอยู่ปัจจุบัน ต้องผ่อนกับเขาอย่างน้อยกี่ปีถึงจะรีไฟแนนซ์บ้านไปที่ธนาคารอื่นได้ ระยะเวลาผ่อนมาตราฐานของธนาคารส่วนมากคือ 3 ปีครับ แต่ผมก็ต้องบอกว่ามีบางธนาคารเหมือนกันครับที่มี peroid ที่นานกว่านั้นบางธนาคารต้องผ่อนให้ครบ 5 ปีก่อน หรือ บางธนาคารต้องให้ครบ 6 ปีก่อนแบบนี้ก็มีครับดังนั้นต้องเช็คก่อนนะครับ
แล้วถ้าเราผ่อนไม่ครบตามกำหนดที่เขาบอกและรีไฟแนนซ์ไปแบงค์อื่นจะโดนอะไร โดนค่าธรรมเนียมครับซึ่งค่าธรรมเนียมส่วนมากเขาจะคิด 3% ของเงินกู้คงค้างครับ 1 ล้านละ 30,000 ซึ่งผมคิดว่าเป็นจำนวนที่เยอะพอสมควรเลยนะครับ ดังนั้นนั้นก็เช็คเงื่อนไขกันให้ดีนะครับ ทางที่ดีเช็คก่อนจะกู้ดีที่สุดครับ

2.หาข้อมูลดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร
สำหรับผมวิธีเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือการ “หาข้อมูล” ครับ ถ้าเรารู้ว่าอีก 12 เดือนเราจะสามารถรีำฟแนนซ์ได้แล้วสิ่งที่ผมแนะนำให้เพื่อนๆทำคือ การหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบครับ เป็นส่วนที่สำคัญมากๆนะครับ เราควรเอาข้อมูลทั้งดอกเบี้ย เงือนไข และ ค่าธรรมเนียม ของแต่ละธนาคารมาเปรียบเทียบเพื่อหา ดีลที่ดีที่สุดสำหรับเราครับ ซึ่งในทุกๆเดือนผมจะทำสรุปอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านไว้ในเพจ Guru Livng อยู่แล้วครับก็ลองมาดู Update กันได้ครับ

3. เตรียมเอกสาร
อย่างที่บอกไปนะครับว่าการรีไฟแนนซ์เป็นการขอสินเชื่อใหม่กับธนาคารใหม่ ดังนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการยื่นเอกสารในการกู้ใหม่ครับ ทั้งเอกสารรายได้ เอกสารข้อมูลส่วนตัว หรืออื่นๆ อันนี้เราก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมครับ ถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจก็ต้องคัดหนังสือรับรองบริษัทมาให้เรียบร้อย

4.ยื่นเรื่องขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่
พอเอกสารทุกอย่างครบถ้วนเราสามารถทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคารที่เราเลือกไว้แล้วได้เลยครับ เพราะการยื่นกู้ไม่ใช่ว่ายื่นแล้วจะรู้ผลใน 12 วันนะครับ ยังจำตอนที่เรายื่นกู้บ้านได้ไหมครับ ระยะเวลาในการอนุมัติก็จะประมานนั้นแหละครับ จะมีทั้งการส่งพนักงานมาประเมินราคา อีกดังนั้นถ้าผมแนะนำนะครับ ก่อนถึงกำหนด 3 ปีซัก 1 เดือนก่อนหน้าให้เราลองยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์ได้เลยครับ

5.ยื่นปิดยอดกับธนาคารเก่า
เมื่อครบกำหนดการผ่อนชำระ เราก็สามารถไปยื่นเรื่องการไถ่ถอนจาก ธนาคารเดิมที่เราผ่อนอยู่ได้เลยครับว่าเราต้องการปิดยอดบัญชีเพื่อรีไฟแนนซ์ไปธนาคารอื่นๆ ซึ่งเราต้องรอ Process ในการส่งเรื่องตรงนี้ประมาน 1015 วันนะคับในการทำเรื่องเอกสาร
ซึ่งผมกระซิบตรงนี้นิดนึงนะครับว่าใน Process นี้เองครับธนาคารเก่าส่วนมากเขาก็จะเสนอโปรลดดอกเบี้ยให้กับเราคับ นั่นก็เพราะเขาก็ไม่อยากให้ลูกค้าหนีไปจากเขาใช่ไหมครับ ทีนี้หน้าที่ของเราคือเอาโปรที่ฝั่งนู้นเสนอมา มาเปรียบเทียบกับการรีไฟแนนซ์บ้านครับว่าอันไหนดอกเบี้ยดีกว่า ถ้าธนาคารเดิมให้โปรโมชั่นดอกเบี้ยที่น่าสนใจ โดยส่วนตัวหลายๆครั้งผมก็ไม่ย้ายธนาคารนะครับ เพราะจะได้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในการรีไฟแนนซ์ด้วย ก็ลองพิจารณาดูแล้วกันนะคับ
6.นัดวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดิน
หลังจากที่ธนาคารใหม่ที่เราไปกู้อนุมัติวงเงินเรียบร้อย เราก็จะนัดกันไปทำเรื่อง ไถ่ถอน และ จดจำนองกันครับ ซึ่ง process นี้จะต้องไปทั้งเจ้าหน้าที่ ธนาคารเก่า และ ธนาคารใหม่นะครับ
ซึ่งในวันที่ทำเรื่องจะมีค่าใช้จ่ายครับคือ
ค่าจดจำนอง โดยคิดเป็น 1% ของวงเงินกู้
ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน
ในที่นี้ก็ต้องแล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละธนาคารที่เรากู้ด้วยนะครับ บางธนาคารฟรีค่าจดจำนองก็มีครับ
สำหรับรายละเอียดการ รีไฟแนนซ์เพิ่มเติมเพื่อนๆสามารถอ่านได้ที่

DDproperty.com

สุดท้ายถ้าเกิดว่าใครมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องอสังหาริมทรัพย์ เรื่องการซื้อบ้าน ซื้อคอนโด เพื่อนๆ สามารถไปตั้งคำถามได้ที่ AskGuru หรือ ถามกูรู ตามลิงก์นี้ https://bit.ly/3cjMCCK
โดยในนั้นจะมีเว็บบอร์ดให้เพื่อนๆ สามารถไปพูดคุย ตั้งคำถามในนั้นได้เลยนะครับ หรือเพื่อนๆ สามารถเข้าไปรับชมคอนเทนต์ความรู้อสังหาริมทรัพย์ได้ที่ https://bit.ly/3iipicC นะครับแล้วไปเจอกันนะครับ

รีไฟแนนซ์บ้าน รีไฟแนนซ์ ผ่อนบ้าน ddproperty guruliving

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องทำอะไรบ้าง? สรุปในคลิปเดียว

วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เกิดขึ้นได้อย่างไร [ รู้จริงเศรษฐกิจไทย ]


ย้อนอดีต 20 ปี \”ต้มยำกุ้ง\” วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีอธิบายง่าย ๆ สั้น ๆ ทุกขั้นตอน ในคลิปนี้ วิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตเศรษฐกิจ2540
สามารถติดตามคลิปอธิบายเรื่องเศรษฐกิจแบบง่ายๆจาก รู้จริงเศรษฐกิจไทย ได้ทาง www.facebook.com/roojingthaiecon

วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เกิดขึ้นได้อย่างไร [ รู้จริงเศรษฐกิจไทย ]

อัตราดอกเบี้ยบ้าน MRR MLR MOR คืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับคนที่จะกู้ซื้อบ้าน ? | Guru Living


MRR MLR MOR คืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับคนที่กู้ซื้อบ้าน
MRR MLR MOR คนที่กำลังวางแผนจะขอินเชื่อกับทางธนาคารคงเคยได้ยินตัวย่อพวกนี้กันมาแล้วใช่ไหมครับ เพราะปรกติเวลาเราไปสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านมา พนักงานเขาจะบอกเป็น MRR บ้างหละ MLR อะไรบ้างหละ วันนี้ผมจะมาอธิบายคำศัพย์เหล่านี้กันครับว่ามันเกี่ยวข้องยังไงกับคนที่กพลีงวางแผนจะกู้ซื้อบ้าน มาดูกันครับ

ก่อนอื่นขออธิบายโครงสร้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือโครงสร้างของหนี้บ้านเราก่อนนะครับว่า โดยปรกติแล้วหนี้ที่เราไปกู้ธนาคารมาเนี่ยเขามีลักษณะการคิดดอกเบี้ยอย่างไรบ้าง
โดยปรกติแล้วสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์แต่ละที่จะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อนั้นๆเป็นสองลักษณะใหญ่ๆครับคือ
1.ดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate)
อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงที่ไว้ตามที่เราได้ตกลงกับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อนั้นๆ เช่นถ้าเราตกลงว่าเราจะขอกู้ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ 5% ในช่วง 3 ปีแรกเราก็จะได้ดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ครับ ทางธนาคารจะไม่สามารถเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลงกับเราไว้ได้
2 ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว ( Floating Rate )
อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวหมายความว่า ดอกเบี้ยสินเชื่อของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามที่สถาบันการเงินกำหนดครับ โดยอัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้สถาบันการเงินจะออกมากำหนดเป็นงวดๆแล้วแต่นโยบายในแต่ละช่วงครับ โดยจะอ้างอิงตามค่า MRR , MOR , MLR ในแต่ละช่วงเวลา

โดยปรกติการที่เราาไปกู้สินเชื่ที่อยู่อาศัย ทางธนาคารส่วนมากจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยในช่วง 1 3 ปีแรกเป็นแบบคงที่ Fixrate ครับและที่สำคัญเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างจะต่ำด้วยครับเช่น คิดคงที่ 3 ปีแรก 5 % และในปีที่ 3 เป็นต้นไปดอกเบี้ยสินเชื่อของเราก็จะปรับเป็นแบบลอยตัวตามค่า MRR , MLR และ MOR ตามที่ธนาคารกำหนดในช่วงนั้นๆครับ
ดังนั้นเห็นไหมครับว่า MRR MLR MOR เป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยของเราเลยครับว่าเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงหรือถูก

MLR (Minimum Loan Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ
MOR (Minimum Overdraft Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี

MRR (Minimum Retail Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อที่อยู่อาศัย

โดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR จะสูงกว่า MOR และ อัตราดอกเบี้ย MOR จะสูงกว่า MLR ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นตัวสะท้อนระดับความเสี่ยงที่ต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย

ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารกำหนดว่า อัตราดอกเบี้ยของเราจะคงที่ 4% ในช่วง 3 ปีแรก และในปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ยจะเป็น MRR 2 หมายความว่าเราต้องไปดูว่าช่วงนั้น MRR ของธนาคารที่เราขอสินเชื่อเป็นเท่าไร (ถ้าเกิดว่าสมมุติ MRR = 7 ) หมายความว่าดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายในปีที่ 4 จะเป็น 7 2 = 5% ต่อปีครับ ซึ่งในแต่ละช่วง MRR จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆนะครับแล้วแต่นโยบายของธนาคาแห่งประเทศไทย
โดยอัตราของ MRR , MOR และ MLR จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดครับขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยครับ และที่สำคัญ MRR MOR และ MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากันนะครับ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร เราในฐานะผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูล และ รายละเอียดให้รอบคอบก่อนการขอสินเชื่อนะครับ
………………………………………………
ติดต่องาน
Mail: [email protected]
website: https://gurulivingth.com/
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCSqymhgsUgVLaQNF6L5gg
Facebook: https://www.facebook.com/gurulivingth/
………………………………………………

mrr mlr ดอกเบี้ยบ้าน สินเชื่อที่อยู่อาศัย mrrคือ mlrคือ morคือ mrrแต่ละธนาคาร mrr2563 mrr2562 mlrแต่ละธนาคาร mlr2563 ดอกเบี้ยบ้าน2563 กู้ซื้อบ้าน

อัตราดอกเบี้ยบ้าน MRR MLR MOR คืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับคนที่จะกู้ซื้อบ้าน ? | Guru Living

EP[กู้ซื้อบ้านครั้งแรก] – #4 MRR-3.725% MRR คืออะไร?


หมวด ‘กู้ซื้อบ้านครั้งแรก’ เราจะเรียงข้อมูลตามนี้ค่ะ
EP1 กู้ซื้อบ้านกับธนาคารไหนดี? https://youtu.be/VZrbcOxGX0M
EP2 เงินดาวน์จำเป็นต้องมีไหม? ถ้าไม่มีสามารถซื้อได้ไหม? https://youtu.be/CIkAKt_gFjg
EP3 ดอกเบี้ยบ้าน การผ่อนแบบขั้นบันไดเป็นยังไง? https://youtu.be/xgNCR7IpKm4
EP4 MRR3.725% แปลว่าอะไร? https://youtu.be/xlmukioafw
EP5 ค่างวดในการจ่ายค่าบ้าน https://youtu.be/zI5BltgFAs
EP6 ประเมินรายได้ในการชำระหนี้
EP7 ค่าใช้จ่ายแฝง [ค่าประเมิน,ค่าประกันอัคคีบ้าน,ค่าประกันชีวิต ]และใน EP4 MRR3.725% MRR คืออะไร?
เวลาไปธนาคารปกติแล้วถ้าเป็นบ้านใหม่ 3 ปีแรกทางธนาคารเค้าจะกำหนดดอกเบี้ยมาให้เลยเช่น ดอกเบี้ยประมาณ 3% ตลอดสามปี แล้วเค้าก็จะบอกว่าในปีถัดไปจะเป็น MRR3.725% , MRR2.5% ซึ่งตอนอ่านครั้งแรกก็ไม่เข้าใจว่า สัญลักษณ์ ” แปลว่าอะไรจนไปที่ธนาคารทางพนักงานเค้าก็อธิบายว่ามันคือเครื่องหมาย ลบ นั่นเอง คราวนี้เราก็ไม่รู้จักคำว่า MRR มันคืออะไร จริงๆ MRR มันคือเรทดอกเบี้ยลอยตัวที่ทุกธนาคารจะกำหนดมาไม่ค่อยเท่ากันในแต่ละปี
แบบปีนี้ MRR = 8%
หรือปี 2565 MRR = 6.15% เป็นต้น
ซึ่งเราก็แค่เอาเลข MRR ในปีดังกล่าวมาลบออกตามข้อเสนอของธนาคาร (เช่น ธนาคารนี้ให้ MRR3.5% และ MRR ในปีนี้ เท่ากับ 8% ก็จะได้สมการ
8%3.5% = 4.5%
นั่นเอง
กู้บ้านหลังแรก​​ MRR ซื้อบ้านหลังแรก

EP[กู้ซื้อบ้านครั้งแรก] - #4 MRR-3.725% MRR คืออะไร?

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *