Home » การรับมรดกแทนที่ คืออะไร ใครมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ | แบ่ง มรดก อย่างไร ดี ให้ ถูก กฎหมาย

การรับมรดกแทนที่ คืออะไร ใครมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ | แบ่ง มรดก อย่างไร ดี ให้ ถูก กฎหมาย

การรับมรดกแทนที่ คืออะไร ใครมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

การรับมรดกแทนที่ คืออะไร ใครมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่
มาตรา ๑๖๓๙ ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๑) (๓) (๔) หรือ (๖) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย
มาตรา ๑๖๔๐ เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา ๖๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้มีการรับมรดกแทนที่กันได้
มาตรา ๑๖๔๑ ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๒) หรือ (๕) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้แก่ทายาทนั้นเท่านั้น ห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป
มาตรา ๑๖๔๒ การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม
มาตรา ๑๖๔๓ สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่
มาตรา ๑๖๔๔ ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิบริบูรณ์ในการรับมรดก
มาตรา ๑๖๔๕ การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะรับมรดกแทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบมรดกบุคคลอื่น
บุตรบุญธรรมไม่ใช้ผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตจึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ได้ แต่บุตรของบุตรบุญธรรม ย่อมรับมรดกแทนที่กันได้
ข้อถือสิทธิ
ข้อมูลความรู้กฎหมายในคลิปวีดีโอรวมตลอดถึงคำถาม – คำตอบ ที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาข้อกฎหมายในช่องอำนาจตามกฎหมาย ทางยูทูป (YouTube) จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านกฎหมายแก่ผู้เข้าชมเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้แทนการวินิจฉัยในการดำเนินคดีของทนายความแก่ลูกความเฉพาะรายได้ เนื่องจากการวินิจฉัยปัญหาของลูกความแต่ละรายมีรายละเอียดข้อมูลที่แตกต่างกัน หากมีการนำข้อมูลของทางช่องอำนาจตามกฎหมายไปใช้โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย ทางช่องอำนาจตามกฎหมายจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

การรับมรดกแทนที่ คืออะไร ใครมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่

อย่าเสียค่าโง่ การโอนที่ดิน || จากประสบการณ์จริง


ค้นหาความสนุก กับการทำเกษตร
โดยหนุ่มเกษตรอินทรีย์
website : http://organicfarmthailand.com/
line@ : @organicshop
http://line.me/ti/p/%40dhb9788b
(ติดต่อโดยตรงหรือสนใจสินค้า)
fanpage : https://www.facebook.com/Numsmartfarmer/?fref=ts

อย่าเสียค่าโง่ การโอนที่ดิน || จากประสบการณ์จริง

ผู้จัดการมรดก โอนที่ดินเป็นของตัวเอง เป็นการแบ่งมรดกหรือไม่ ผิดหน้าที่หรือไม่ ยักยอก ตอนที่ 231


ผู้จัดการมรดก ยักยอก ไม่แบ่งมรดก ทายาท

_____________________

.
💜 ดูวีดีโอและติดตามทนายวีรยุทธทาง youtube
.
https://www.youtube.com/channel/UCqGMp2oSnRzK5KvykDBebKg?fbclid=IwAR1wNNQl2VS2avF4yS8EHSfLFocx1UJdtLFPEDrX4ahSS8vIK928L9nqlg
.
_______________________
ติดตามผลงานทาง Facebook
.
ทนายวีรยุทธ =
https://web.facebook.com/weerayutlawyerthai/?ref=br_rs
.
ทนายความ ฟ้องหย่า โดยทนายวีรยุทธ =
https://web.facebook.com/divorcelawyerthai/?ref=br_rs
.

ผู้จัดการมรดก โอนที่ดินเป็นของตัวเอง เป็นการแบ่งมรดกหรือไม่  ผิดหน้าที่หรือไม่ ยักยอก ตอนที่ 231

การแบ่งทรัพย์มรดก ทายาทโดยธรรม ,กฎหมายมรดก คู่สมรส


มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม”
ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม” 
ผู้รับพินัยกรรม
1.ถ้ามีพินัยกรรม ทรัพย์สินที่ถูกระบุไว้ในพินัยกรรมเท่านั้นที่จะถูกบังคับให้เป็นไปตามที่พินัยกรรมระบุไว้ ส่วนทรัพย์มรดกอื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้แบ่งทายาทโดยธรรม ผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย (ม.1620 วรรค 2)
2.ทายาทที่รับมรดกตามพินัยกรรมแล้ว สามารถแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนของทรัพย์สินที่ไม่ได้ระบุในพินัยกรรมได้ (ม.1621)

การแบ่งมรดกแก่ทายาทโดยธรรม
1.ทายาทโดยธรรม 6 อันดับ (ม.1629, 1635 (1) , ม.1627 , ม.1630 วรรค สอง) คู่สมรสและบิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนชั้นบุตร
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635
มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
การแบ่งทรัพย์มรดก
1.แบ่งให้คู่สมรสก่อน (ม.1625)
2.แบ่งตามลำดับชั้นทายาทโดยธรรม
รับชมเนื้อหาในคลิปเพิ่มเติมได้เลยนะคะ
 
หากคลิปนี้ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
Page Facebook : ModernLaw
หรือคลิกที่ลิงค์ : https://www.facebook.com/modernlawth

การแบ่งทรัพย์มรดก ทายาทโดยธรรม ,กฎหมายมรดก คู่สมรส

หลักการแบ่งมรดกสำหรับลูกๆ


ปรึกษาคดีโทร.0950788429 และ 0807819202

หลักการแบ่งมรดกสำหรับลูกๆ

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆTips

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *