Home » เปิดเคล็ดลับ ขึ้นเงินเช็คอย่างไร ให้ได้เงินสดเร็วที่สุด และได้ภายในกี่วัน? #รอดไปด้วยกัน | เช็คต่างธนาคาร เคลียริ่งกี่วัน

เปิดเคล็ดลับ ขึ้นเงินเช็คอย่างไร ให้ได้เงินสดเร็วที่สุด และได้ภายในกี่วัน? #รอดไปด้วยกัน | เช็คต่างธนาคาร เคลียริ่งกี่วัน

เปิดเคล็ดลับ ขึ้นเงินเช็คอย่างไร ให้ได้เงินสดเร็วที่สุด และได้ภายในกี่วัน? #รอดไปด้วยกัน


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

หลายคนคงได้ยินคำว่าการขึ้นเช็ค เช็คเด้ง แต่อาจยังไม่เข้าใจว่าเช็คคืออะไร แตกต่างจากเงินสดอย่างไร หรือหลายคนมีเช็คจะขึ้นเงิน แล้วอยากรู้วิธีขึ้นเงินที่จะทำให้ได้เงินเร็วที่สุด มันต้องทำอย่างไร วันนี้รายการรอดไปด้วยกันมีคำตอบ!
“เช็ค” คือ สิ่งที่เราสามารถใช้จ่ายเงินหรือชำระหนี้ให้ผู้อื่น แทนการยื่นเป็นเงินสดเป็นก้อน ถือเป็นหนึ่งในวิธีการสั่งจ่ายที่นิยมทำกันในปัจจุบัน โดยเฉพาะในผู้ทำธุรกิจ เพราะมีความปลอดภัยสูง หรือหากเราถูกลอตเตอรี่รางวัลใหญ่ เวลาไปขึ้นเงินที่กองสลาก เราก็จะได้รับมาเป็นเช็ค แค่พกกระดาษเพียงใบเดียว แทนเงินสดปึกใหญ่ๆ ได้แล้ว นอกจากนี้ยังผ่านการตรวจความปลอดภัย จากทั้งฝั่งธนาคาร ระหว่างธนาคารของผู้สั่งจ่ายและฝั่งธนาคารของผู้รับเงิน
ทั้งนี้ ในเช็ค 1 ใบจะต้องระบุ 6 สิ่งสำคัญดังนี้
1.มีสิ่งที่แสดงหรือบ่งบอกว่าเป็นเช็ค เพื่อเป็นหลักฐานที่ืแสดงว่ากระดาษแผ่นนี้เป็นเช็คที่ถูกต้องของของธนาคาร
2.ระบุจำนวนเงินแน่นอน ชัดเจนทั้งตัวเลข และตัวหนังสือ
3.ชื่อธนาคารที่ออกเช็ค
4.ชื่อผู้รับเงิน
5.ระบุวันที่ออกเช็ค และสถานที่ที่ออกเช็ค
6.ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
สำหรับวิธีการชึ้นเช็คก็ไม่ยุ่งยาก เราสามารถนำเช็คที่จะขึ้นเงินไปเข้าบัญชีของธนาคารที่เรามีบัญชีเงินฝาก ที่สาขาใดก็ได้ ไม่ต้องไปสาขาที่ระบุหน้าเช็ค แล้วเขียนใบนำฝาก จากนั้นก็นำไปยื่นพร้อมเช็คยื่นให้ที่เคาน์เตอร์สาขา
โดยขั้นตอนหลังจากนี้ ธนาคารทางฝั่งของผู้รับ จะประสานงานติดต่อไปยังธนาคารผู้สั่งจ่าย เพื่อยืนยันความถูกต้องทางด้านข้อมูล เมื่อข้อมูลถูกต้อง ธนาคารสั่งจ่ายจะจ่ายเงินตามยอดให้กับธนาคารทางฝั่งผู้รับ และเงินจะเข้าบัญชีของผู้รับเรียบร้อย
ส่วนใครที่มีเช็ค และสงสัยว่า ต้องทำอย่างไรถึงได้เงินเร็วที่สุดนั้น คำตอบคือ
ถ้านำฝากเช็กที่ธนาคารเดียวกับธนาคารที่มีชื่อบนหน้าเช็ค จะได้รับเงินในวันเดียวกับวันที่ฝากเช็ค (แต่ขอย้ำว่า ต้องนำฝากก่อน 14.00 น.)
ถ้านำฝากเช็คกับธนาคารอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารที่มีชื่อบนหน้าเช็ค ก็จะได้รับเงินในวันรุ่งขึ้น หรือภายใน 35 วัน
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาในการนำเช็คไปฝากก็มีส่วนสำคัญว่า คุณจะได้เงินเร็วหรือช้า เพราะหากนำฝากเช็คก่อน 14.00 น. ของวันนี้ ยอดเงินจะโอนเข้าในบัญชีปลายทาง ภายใน 13.00 น. ในอีกวันหนึ่ง แต่หากเราไปธนาคารเกิน 14.00 น. แล้วนั้น ธนาคารจะตัดรอบเป็นอีกวันหนึ่ง จะทำให้ขึ้นเงินได้นานขึ้น 1 วัน หรือหากติดวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดสุดสัปดาห์ก็จะบวกเวลาเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งเราจะเห็นยอดเงินในแอปธนาคาร Mobile Banking ได้ แต่ยังไม่สามารถทำธุรกรรมกับยอดเงินนั้นได้จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางเวลาของแต่ละธนาคาร
อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังในการใช้เช็ค เพราะเช็คมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่สั่งจ่ายบนหน้าเช็คเท่านั้น หากเกินกำหนดเช็คจะไม่สามารถขึ้นเงินได้ และกลายเป็นสิ่งไม่มีค่าทันที นอกจากนี้ต้องมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายบนหน้าเช็ค จำนวนเงินตัวหนังสือและตัวเลขถูกต้องตรงกัน

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://ch3thailandnews.com/news/223515

ชี้ช่องทางธุรกิจ พลิกชีวิต รอดไปด้วยกัน! ทุกวันอังคารพฤหัสบดี เวลา 18.30 น.
รอดไปด้วยกัน รอดไปด้วยกันเศรษฐกิจชาวบ้าน ทินโชคกมลกิจ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://ch3thailandnews.com/news/222253

เปิดเคล็ดลับ ขึ้นเงินเช็คอย่างไร ให้ได้เงินสดเร็วที่สุด และได้ภายในกี่วัน? #รอดไปด้วยกัน

เรื่องต้องรู้ ก่อนซื้อหรือรับ แคชเชียร์เช็ค,แคชเชียร์เช็คคืออะไร | Koy My Property Pro


ข้อควรรู้ ก่อนซื้อหรือรับ “แคชเชียร์เช็ค”
สิ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการสูญหายของการพกเงินสดไปไหนมาไหนจำนวนมากคือ เช็ค (Cheque) หรือ ตราสารในรูปแบบหนึ่งที่ธนาคารเป็นผู้ออกให้
เช็คจะมีหลากหลายประเภท แคชเชียร์เช็ค (Cashier Cheque)ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยผู้รับไม่ต้องกังวลว่า “เช็คจะเด้ง” หรือขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้
การพกเงินสดจำนวนมากเป็นสิ่งที่คนทั่วไปไม่นิยมทำกัน เพราะเสี่ยงต่อการสูญหาย ไม่ว่าจะเพราะลืมทิ้งไว้หรือถูกขโมย การพกเงินสดจึงนิยมพกกันทีละน้อยๆ แต่การใช้จ่ายบางอย่างก็ต้องใช้เงินสดจำนวนมากๆ เช่น การชำระเงินกู้บ้าน วางเงินดาวน์ซื้อรถยนต์จ่ายเงินในการทำธุรกิจ การใช้แคชเชียร์เช็ค จึงช่วยอำนวยความสะดวกได้
แคชเชียร์เช็คคืออะไร? ต่างกับเช็คทั่วไปอย่างไร?
แคชเชียร์เช็ค (Cashier Cheque) คืออะไร?
แคชเชียร์เช็คเป็นเช็คประเภทหนึ่งที่ธนาคารสั่งจ่ายโดยมีเงินสดอยู่ตามจำนวนที่ระบุในเช็ค และมีการระบุชื่อผู้รับไว้อย่างชัดเจน ซึ่งวิธีซื้อแคชเชียร์เช็ค ซื้อได้ทั้งเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝากเท่าจำนวนที่ระบุในเช็คให้กับธนาคารพร้อมค่าธรรมเนียม ผู้ขายแคชเชียร์เช็คต้องเป็นธนาคารเสมอ ส่วนผู้รับเงินเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเช็ค
แคชเชียร์เช็คมีประโยชน์อย่างมาก คือ ใช้พกแทนเงินสดจำนวนมาก ไม่ต้องเสียเวลานับเงิน ถ้าสูญหายก็มั่นใจได้ว่าเงินจะไม่หายไป เพราะผู้รับเงินต้องตรงกับในเช็คเท่านั้น ถึงจะรับเงินได้ และแคชเชียร์เช็คยังไม่มีวันหมดอายุด้วย นอกจากนี้ยังมีค่าธรรรมเนียมเพียงเล็กน้อย ประมาณ 20 บาทในการซื้อแคชเชียร์เช็ค จึงช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดีทั้งผู้จ่ายเงินและรับเงิน
แคชเชียร์เช็คต่างกับเช็คทั่วไปอย่างไร?
แคชเชียร์เช็คกับเช็คทั่วไป มีข้อแตกต่าง ดังนี้
1. แคชเชียร์เช็คเปรียบได้กับบัตรเดบิต
แคชเชียร์เช็คเปรียบได้กับบัตรเดบิต เพราะมีเงินอยู่ในเช็คเสมอ เนื่องจากผู้ซื้อได้ซื้อแคชเชียร์เช็คกับทางธนาคารตามจำนวนเงินที่ระบุแล้ว ไม่มีทางเช็คเด้งยกเว้นธนาคารนั้นล้มละลายไปเสียก่อน ขณะที่เช็คทั่วไปเปรียบได้กับบัตรเครดิต ซึ่งเจ้าของเช็คอาจมีหรือไม่มีเงินในบัญชีก็ได้ จึงมีโอกาสเกิดเช็คเด้งได้
2. ธนาคารเป็นทั้งผู้สั่งจ่ายและผู้จ่ายเงิน
แคชเชียร์เช็ค ธนาคารเป็นทั้งผู้สั่งจ่ายและผู้จ่าย ขณะที่เช็คทั่วไป ผู้สั่งจ่ายอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัท ส่วนผู้จ่ายเป็นธนาคารเสมอ
3. ไม่ต้องมีบัญชีเงินฝากกับธนาคาร
ผู้ออกแคชเชียร์เช็คไม่ต้องเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่จะออกแคชเชียร์เช็ค ขณะที่เช็คทั่วไป ผู้ขอออกเช็คต้องมีบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารที่จะออกเช็ค
การใช้แคชเชียร์เช็คมีข้อดีกว่าเช็คทั่วไป คนธรรมดาทั่วไปก็สามารถใช้ได้ และไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากกระแสรายวันก็สามารถออกเช็คได้ จึงสะดวกสบายกว่ามากและมีความน่าเชื่อถือตรงที่เช็คจะไม่เกิดการเด้ง ผู้รับได้รับเงินแน่นอน ทำให้สบายใจทั้งผู้ให้ผู้รับทีเดียว
ให้เรื่องอสังหาฯเป็นเรื่องง่ายกับ My Property Pro
ช่องทางการติดต่อ
ทักคุณก้อยⓀⓄⓎ✆℡: 0638242656
Line ➲ https://bit.ly/2FDfUyz
Line ➲ https://bit.ly/2JsCr0N
Inbox 📩
http://m.me/mypropertypro
……………….
Facebook fan page
https://www.facebook.com/MyPropertyPro9/
……………….
Website
http://mypropertypro.myweb.in.th/
……………….
YouTube ⏩ https://bit.ly/3cl3BCd
TikTok ⏩ https://bit.ly/2Zgrir8
แคชเชียร์เช็ค CashierCheque เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับแคชเชียร์เช็ค บ้าน บ้านมือสองทาวน์โฮม ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายฝากบ้าน คอนโด คอนโดให้เช่า บ้านเช่าเช่าคอนโด ซื้อบ้าน อสังหาริมทรัพย์ kaidee
Credit : Bensound.com/Freepik.com

เรื่องต้องรู้ ก่อนซื้อหรือรับ แคชเชียร์เช็ค,แคชเชียร์เช็คคืออะไร  | Koy My Property Pro

รายการค้าวันที่16 มกราคม2560 นำฝากเช็คต่างธนาคาร บริษัทฯ รับภาระค่าธรรมเนียม


โจทย์ 16 ม.ค. นำฝากเช็คเข้าบัญชีออมทรัพย์ สำหรับเช็คที่ถึงกำหนดนำเข้าวันที่ 15 ม.ค. ซึ่งเป็นวันหยุด จึงนำเข้าในวันทำการถัดไป เป็นเช็คของ บริษัท แม็คโคร คอนซัลแตนท์ จํากัด เลขที่ 0007001 ยอดเงิน 3,000 บาท เช็คธนาคารกรุงไทย สาขาหนองจอกจึงถูกหักค่าธรรมเนียมเช็คต่างธนาคาร ฉบับละ 30 บาท และเช็คของ บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จํากัด เช็คเลขที่ 0007003 ยอดเงิน 11,400 บาท เช็คธนาคารธนชาติ สาขาหัวหมาก
•จาก Case Study (หน้า 496) จากหนังสือ การใช้โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป (THE APPLICATION OF ACCOUNTING SOFTWARE)วิชา ACC 3240 โดย อาจารย์ขวัญฤดี อำนวยเวโรจน์
•จัดทำโดย นางสาว สุวนันท์ เซ๊ะวิเศษ รหัสนักศึกษา 5802068410 มหาวิทยาลัยรามคำแหง

รายการค้าวันที่16 มกราคม2560 นำฝากเช็คต่างธนาคาร บริษัทฯ รับภาระค่าธรรมเนียม

13 เช็คธนาคาร ตอนที่ 1.mpg


รายการเพื่อนคู่คิด โดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
พิธีกร : อัจฉรา นววงศ์ ,ชรัส เฟื่องอารมย์
ตอน : 13 เช็คธนาคาร ตอนที่ 1
ไม่ระบุ เดือน,ปี

13 เช็คธนาคาร ตอนที่ 1.mpg

สอนเช็คเงินโอน transferwise กี่วันได้รับ โอนจริงๆไหม เข้าใจง่ายๆ


สามารถกดสมัคร โอนเงินง่ายๆได้เลยจ้า จากลิงค์ข้างล่าง
https://transferwise.com/invite/u/praewpunp
ขอบคุณเพื่อนๆที่เข้ามาให้กำลังใจนะคะ
Subscribe me 🙏🥺❤️❤️
https://www.youtube.com/channel/UCGCI9wrWLZ679Cc14ktafkg?sub_confirmation=1
Follow my Fan page 🙏🥺❤️❤️
https://www.facebook.com/Meo.sri.Thailand/
https://www.facebook.com/Madamluxembourg/
Follow my intragram
https://www.instagram.com/meo_sri/
Thank you 👏🏽

สอนเช็คเงินโอน transferwise กี่วันได้รับ โอนจริงๆไหม เข้าใจง่ายๆ

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Tips

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *