Home » toyota จะใช้ ไฮโดรเจน จุดระเบิดแทนน้ำมัน ในเครื่องสันดาปภายใน | รถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงคืออะไร

toyota จะใช้ ไฮโดรเจน จุดระเบิดแทนน้ำมัน ในเครื่องสันดาปภายใน | รถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงคืออะไร

toyota จะใช้ ไฮโดรเจน จุดระเบิดแทนน้ำมัน ในเครื่องสันดาปภายใน


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564 Toyota Motor Corporation (Toyota) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า บริษัท กำลังมีการพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยใช้เชื่อเพลิงไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงแทน Gassoline
สำหรับเครื่องยนต์ดังกล่าวนั้นจะถูกติดตั้งให้กับ Toyota Corolla Sport ซึ่งเป็นรถแข่งที่ทางโตโยต้า จะส่งเข้าแข่งขันรายการ Super Taikyu Series 2021 ซึ่งเป็นการแข่งขันแบบมาราธอน ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 21 23 พฤษภาคมนี้
โดยเครื่องยนต์ที่ใช้นั้นจะเป็นแบบ 3 สูบแถวเรียง ขนาดความจุ 1,618 ซีซี ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในการจุดระเบิด สำหรับไฮโดรเจนที่จะใช้เติมนั้นจะถูกผลิตที่ Fukushima Hydrogen Energy Research Field ในเมือง Namie จังหวัด Fukushima
► ติดตามข่าวสารและพูดคุยกับเราได้ที่
เฟสบุ็ค : https://www.facebook.com/CarRaver
เว็บไซต์ : https://www.carraver.com
► เราจะพยายามทำคอนเทนต์ใหม่ๆออกมาให้เพื่อนๆชมทุกวัน หากเพื่อนๆคนไหนอยากให้เราทำวิดีโอเกี่ยวกับอะไร สามารถคอมเม้นบอกเราได้ที่ใต้วิดีโอเลยครับ
► สุดท้ายต้องขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุนจากทุกคน ข้อมูลบางอย่างอาจมีผิดพลาด เราต้องขออภัยด้วยครับ และหากอยากให้เราปรับปรุงในเรื่องไหนบอกเราได้เลยครับ เราคาดหวังว่าช่องจะเติบโต และมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ชมทุกท่านครับ.
toyotaHydrogen
toyota
ข่าวรถยนต์ล่าสุด
Source : https://global.toyota/en/newsroom/corporate/35209996.html

toyota จะใช้ ไฮโดรเจน จุดระเบิดแทนน้ำมัน ในเครื่องสันดาปภายใน

เครื่องแยกก๊าซไฮโดรเจน (SEPARATION OF HYDROGEN)


ปริญญานิพนธ์ ปริญญาตรี มหาวิทบาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เป็นโปรเจคเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก

เครื่องแยกก๊าซไฮโดรเจน (SEPARATION OF HYDROGEN)

TAKANO รถกระบะไฟฟ้า สัญชาติไทย เชื้อสายญี่ปุ่น คันแรก l EV Story


รถกระบะไฟฟ้า เชื้อสายญี่ปุ่น สัญชาติไทย สามารถจดทะเบียนได้
ทุนญี่ปุ่น “ทาคาโน่” ( Takano ) บุกตลาด อีวี ( EV ) ในไทย หลัง BOI ไฟเขียว ตั้งโรงงานที่จังหวัดชลบุรี เน้นปิกอัพขนาดเล็ก วิ่งได้ระยะทาง 100120 กม. จากการชาร์จไฟเต็มหนึ่งครั้ง Takano ราคา โปรโมชัน 3.88 แสนบาทค่ายน้องใหม่ตบเท้าลุยอุตสาหกรรมยานยนต์ พร้อมตั้งโรงงานผลิตในไทย หลังรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าตลาดรถยนต์ไทยถูกควบคุมความได้เปรียบ จากบริษัทผู้ผลิตญี่ปุ่น แต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า บริษัทใหม่ๆ เห็นช่องทางแจ้งเกิดในธุรกิจ อย่างบริษัทของคนไทยที่มุ่งพัฒนารถพลังงานไฟฟ้า 100% หรือ อีวี (EV) เช่น ไมน์ โมบิลิตี้ ของ EA และสามมิตร มอเตอร์ มีแผนผลิตรถบรรทุก 6 ล้อ อีวีส่วนทุนญี่ปุ่นรายใหม่ ที่เข้ามาลงทุนและใช้ไทยเป็นฐานการผลิต โดยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้ว คือ “ฟอมม์” และ “ทาคาโน่” Takanoในส่วน ฟอมม์ เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ขายราคาประมาณ 56 แสนบาท ทำตลาดมา 12 ปี ยอดขายยังไม่เปรี้ยงปร้างนักล่าสุดในงานบางกอก มอเตอร์โชว์ 2020 บริษัท ทาคาโน่ ออโต้ ประเทศไทย จำกัด นำรถโปรดักชันคาร์รุ่น Takano TTE 500 มาเปิดตัว พร้อมขายอย่างเป็นทางการ
ทาคาโน่ ( Takano ) หาช่องว่างใหม่ในตลาด อีวี ด้วยการพัฒนา ปิกอัพขนาดเล็ก ด้วยความยาวเพียง 3.25 เมตร นํ้าหนักรถไม่รวมแบตเตอรี่ 589 กิโลกรัม ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 1 ตัวที่ล้อหน้า แรงบิดของมอเตอร์ไฟฟ้า 110 นิวตันเมตร ชาร์จไฟเต็มหนึ่งครั้งรถวิ่งได้ระยะทางสูงสุด 120 กม. ส่วนความเร็วสูงสุดจำกัดไว้ที่ 60 กม./ชม. จากแบตเตอรี่มีขนาด 11 กิโลวัตต์ชั่วโมงTakano TTE 500 ใช้ล้ออัลลอยด์ขนาด 13 นิ้ว ประกบยาง 155/65 R13 ไม่เน้นสมรรถนะการขับขี่มากนัก แต่ออกแบบให้เพียงพอต่อการใช้งาน เน้นการขนส่งสินค้านํ้าหนักเบา หรือบรรทุกคนไม่มาก (ตัวโชว์นำมาตีคอกด้านหลังทำที่นั่งเพิ่ม) มุ่งจับลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท โรงงาน มหาวิทยาลัย วิ่งรับส่งในพื้นที่ใกล้ๆ หรือในอาณาเขตของตนเองทั้งนี้ พิกัดของ Takano TTE 500 อยู่ในกลุ่มรถแบตเตอรี่ อีวี (BEV) ขนาดเล็ก โดยมาตรฐาน สเปกต่างๆ และส่วนควบผ่านตามข้อกำหนดของหน่วยงานรัฐบาล สามารถจดทะเบียนได้อย่างไรก็ตาม ทาคาโน่ มีแผนพัฒนาปิกอัพขนาดเล็ก 6 ล้อ หวังเพิ่มความสามารถในการบรรทุก และให้ลูกค้านำไปดัดแปลงเป็นฟู้ดทรัก หรือใช้เพื่อการพาณิชย์ในรูปแบบอื่นๆ ทว่า ตัวรถลักษณะนี้ ยังไม่เข้าพิกัดของกรมการขนส่งทางบก จดทะเบียนไม่ได้ ดังนั้น ทาคาโน่ จึงต้องขายแต่ปิกอัพ 4 ล้อ และช่วงเปิดตัวทำโปรโมชัน Takano ราคา 3.88 แสนบาท จากราคาเต็ม 4.38 แสนบาท จองวันนี้รอรับรถอีกประมาณ 2 เดือนช่วงแรก ทาคาโน่ ออโต้ ประเทศไทย มีโชว์รูม 1 แห่ง ที่จังหวัดชลบุรี และเตรียมกำลัง ผลิต Takano TTE 500 ที่โรงงานในนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี ไว้ 700800 คันต่อปี และวางแผนอีก 2 ปี เตรียมส่งออกไปในประเทศในอาเซียน
Credit : หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,595 วันที่ 26 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
เป็นกำลังใจให้ช่อง Captain DIY / Buy Me a Coffee : https://kofi.com/captaindiy
ฝากกดติดตามด้วยครับhttps://www.youtube.com/channel/UCL83yZRoeoDwYgFeysIaodQ?sub_confirmation=1
สนใจติดตั้งโซล่าร์เซลล์ และระบบ EV Charger ติดต่อได้ที่
Line : @108ukwwg
https://captaindiy.com/

TAKANO รถกระบะไฟฟ้า สัญชาติไทย เชื้อสายญี่ปุ่น คันแรก l EV Story

รถยนต์พลังงาน \”ไฮโดรเจน\” ทำงานอย่างไร | TOYOTA Fuel cell


สารคดีการผลิต
รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนทำงานอย่างไร
TOYOTA Fuel cell How does it work
SUBSCRIBE สำหรับวิดีโอการการผลิตต่างๆ https://goo.gl/Y8qGH6

รถยนต์พลังงาน \

CycloRotor รถไฟฟ้าบินได้ ด้วยพลังมหาศาลจากกังหันลม


การพัฒนารถบินได้มีความก้าวหน้าอย่างมากและแข่งขันกันอย่างดุเดือด CycloRotor คือความล้ำหน้าไปอีกขั้น ที่รวมเอาข้อดีของ ปีกเครื่องบิน และใบพัดของเฮลิคอปเตอร์ เข้าด้วยกัน ซึ่งมันอาจเปลี่ยนการเดินทางของคุณในอนาคตได้เลย
Time Stamps
0:00
0:25 จุดเริ่มต้น CycloRotor
1:47 CycloRotor ทำให้รถบินได้อย่างไร
4:07 ความก้าวหน้าของ CycloRotor รถไฟฟ้าบินได้
จุดเริ่มต้น CycloRotor
เทคโนโลยี CycloRotor ได้เริ่มต้นพัฒนามาเป็นร้อยปีแล้ว
ปี 1923 Jonathan Edward Caldwell ได้จดลิขสิทธิ์ CycloGyro ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ปีกหมุนเป็นกังหันติดอยู่ทั้งสองด้านของลำตัว แทนที่จะเป็นปีกธรรมดาเหมือนเครื่องบินทั่วไป เพื่อใช้ในการบินขึ้นและลงในแนวดิ่งได้ ซึ่งเมื่อทดลองบินจริงเครื่องต้นแบบแล้วไม่สำเร็จ
แต่ CycloRotor กลายเป็นเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จเมื่อนำมาใช้ในการเดินเรือ
ทำให้สามารถบังคับเรือเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว แม่นยำ แบบรอบทิศทาง 360 องศา มีแรงขับเคลื่อนมหาศาลถึงขั้นใช้เป็นเรือลากจูงสำหรับเรือบรรทุกสินค้าได้เลย
CycloRotor ทำให้รถบินได้อย่างไร?
CycloRotor ได้เอาข้อดีของเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์มารวมกันดังนี้
เครื่องบิน
สามารถบินได้ โดยใช้แรงยกใต้ปีก โดยใช้เครื่องยนต์ทำให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ให้อากาศไหลผ่านด้านบนปีกที่เป็นแนวโค้ง เร็วกว่าด้านล่างของปีกซึ่งเป็นแนวตรง แล้วเกิดแรงยกใต้ปีกแบบทิศทางเดียวจนทำให้เครื่องบินลอยตัว
ทำให้เครื่องบินต้องใช้ระยะทางไกลในการวิ่ง เพื่อทำความเร็วให้พอที่จะบินขึ้นและลง
นักบินสามารถควบคุมทิศทางได้โดยการใช้อุปกรณ์ปรับที่ปีกและหาง ซึ่งลำตัวเครื่องต้องเอียงตามด้วย
เฮลิคอปเตอร์
สามารถบินได้ โดยใช้แรงยกจากใบพัดที่มีรูปร่างคล้ายปีกเครื่องบินขนาดเล็ก หมุนเป็นวงกลมในแนวราบ เพื่อให้อากาศไหลผ่านด้านบนใบพัดที่เป็นแนวโค้งเร็วกว่าด้านล่างของใบพัดซึ่งเป็นแนวตรง แล้วเกิดแรงยกใต้ใบพัดแบบทางเดียวจนทำให้เฮลิคอปเตอร์ลอยตัวขึ้นเหนือพื้นดิน
ทำให้เฮลิคอปเตอร์สามารถขึ้นและลงในแนวดิ่งได้ แต่บินเดินทางได้ช้ากว่าเครื่องบิน
นักบินสามารถควบคุมทิศทางได้โดยการปรับมุมของใบพัด ซึ่งลำตัวเครื่องต้องเอียงตามด้วย
CycloRotor
สามารถบินได้ โดยใช้แรงยกจากกังหันลม ซึ่งมีใบพัดที่มีรูปร่างคล้ายปีกเครื่องบินขนาดเล็กและสั้น หมุนเป็นวงกลมในแนวตั้ง โดยสามารถปรับมุมแต่ละใบพัด เพื่อสร้างแรงยกได้หลายทิศทาง ทั้งขึ้นบน ลงล่าง ทางซ้าย และทางขวา เรียกว่าเป็นการสร้างแรงขับได้รอบทิศทางของแกนหมุนแบบ 360 องศาเลยทีเดียว
นักบินสามารถบังคับทิศทางได้โดยการปรับมุมของใบพัด โดยลำตัวเครื่องไม่ต้องเอียงตาม
ทำให้ CycloRotor มีข้อดีมากมายคือ
สามารถขึ้นและลงในแนวดิ่งได้เหมือนเฮลิคอปเตอร์ และบินเดินทางได้เร็วเหมือนเครื่องบิน ควบคุมทิศทางได้ง่ายกว่า บินได้นิ่งและนิ่มกว่า
แถมชุดใบพัดพัดที่ใช้ในการขับเคลื่อนยังมีขนาดกะทัดรัด ไม่เกะกะ เล็กกว่าทั้ง เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ หรือแม้กระทั่ง eVTOL ซึ่งเป็นยานภาหนะไฟฟ้าที่ขึ้นลงในแนวดิ่งได้แบบอื่นๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ความก้าวหน้าของ CycloRotor รถไฟฟ้าบินได้
CycloTech
CycloTech เป็นบริษัทของประเทศออสเตรีย ที่พัฒนาเทคโนโลยี CycloRotor แบบต่างๆ มากมาย จนในปัจจุบันได้ประสบความสำเร็จกับเครื่องต้นแบบที่ ชุดขับซึ่งเป็นกังหันทำด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ ขนาดกว้าง 42 cm. เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 cm. มีกังหันที่ประกอบด้วยใบพัด 5 ใบทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ เช่นกัน ซึ่งกังหัน CycloRotor ขนาดเล็กเท่าลูกฟุตบอลตัวเดียวนี้ สามารถสร้างแรงขับได้ถึง 25 กก ได้ทุกทิศทางแบบ 360องศา ที่ความเร็วรอบ 3100 รอบ/นาที
CtcloTech ประสบความสำเร็จบินทดสอบด้วยเครื่องต้นแบบ โดยใช้ CycloRotor 4 ตัวที่สร้างแรงขับซึ่งรองรับน้ำหนักได้ถึง 100 กก
เพื่อใช้ในการพัฒนา รถไฟฟ้าบินได้ ของ CycloTech แบบ 4 ที่นั่ง
ซึ่งจะใช้กังหัน CycloRotor ขนาด 1.2 x 1.2 เมตร 4 ตัว แล้วสามารถบินได้เร็ว 150 กม/ชม และบินได้นาน 1 ชั่วโมง
CycloCar
CycloCar เป็นรถไฟฟ้าบินได้ของสถาบันวิจัยรัสเซีย Advanced Research Foundation (AFR)
CycloCar ประสบความสำเร็จบินทดสอบด้วยเครื่องต้นแบบ โดยใช้ CycloRotor 4 ตัวที่สร้างแรงขับซึ่งรองรับน้ำหนักได้ถึง 60 กก
เพื่อใช้ในการพัฒนารถไฟฟ้าบินได้ขนาด 6 ที่นั่ง หรือบรรทุกสัมภาระได้ 600 กก. บินได้ความเร็ว 250 กม/ชม และบินได้ไกล 500 กม.
จุดเริ่มต้น CycloCar เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยี high – tech ใช้ทางทหาร เพื่อเป็นยานภาหนะขนาดเล็กที่บินขึ้นลงในแนวดิ่งได้ มีความคล่องตัวสูง และมีเสียงเงียบกว่าเฮลิคอปเตอร์
แล้ววางแผนขยายผลให้สามารถใช้กับพลเรือนได้ด้วย ทั้งใช้ในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ใช้ดับเพลิง ใช้ทางการแพทย์ และการเดินทางในรูปแบบอื่นๆ
โดยมีแผนเริ่มใช้บินจริงในปี 2024

CycloRotor รถไฟฟ้าบินได้ ด้วยพลังมหาศาลจากกังหันลม

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Tips

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *