Home » ค่าโอนที่สำนักงานที่ดิน|Meesara by Nong | ค่าใช้จ่ายการโอนที่ดิน

ค่าโอนที่สำนักงานที่ดิน|Meesara by Nong | ค่าใช้จ่ายการโอนที่ดิน

ค่าโอนที่สำนักงานที่ดิน|Meesara by Nong


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ค่าโอนที่สำนักงานที่ดิน ตกลงให้ดีผู้ซื้อหรือผู้ขาย ใครเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ซึ่งจะให้เคลียร์แจ้งไปเลยว่าค่าโอนประกอบไปด้วย ค่าธรรมเนียม, ค่าอากร ,ค่าภาษี ,ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งหมดนี้ใครเป็นคนออก เพราะเวลาเห็นค่าโอนที่แพงแล้วอาจจะมีปัญหาตามมาทีหลัง

ค่าโอนที่สำนักงานที่ดิน|Meesara by Nong

พ่อแม่โอนที่ดินให้ลูกต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ | Koy My Property Pro


พ่อแม่โอนที่ดินให้ลูกผู้สืบสันดาน หรือ ทายาทโดยธรรมอันถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะมีชีวิตอยู่ ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนที่ดิน คิดที่เท่าไหร่

ให้เรื่องอสังหาฯเป็นเรื่องง่ายกับ My Property Pro
ภาษีโอนที่ดินให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย พ่อแม่โอนที่ดินให้ลูก ค่าใช้จ่ายในการโอน ภาษีที่ดิน บ้าน บ้านมือสอง ทาวน์โฮม ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายฝากบ้าน คอนโด คอนโดให้เช่า บ้านเช่า เช่าคอนโด ซื้อบ้าน อสังหาริมทรัพย์ kaidee mypropertypro 4289
Credit : Bensound.com/Freepik.com

พ่อแม่โอนที่ดินให้ลูกต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ | Koy My Property Pro

ค่าโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายยังไง อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง


ค่าโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายยังไง อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง
สวัสดีครับวันนี้ผมจะชวนทุกคุณมาคุยถึงอีก 1 หัวข้อสำคัญมากๆเกี่ยวกับเรื่อง การโอนที่ดินมรดก ครับ ที่ดินแบบไหนที่เขาจะเรียกว่าเป็นที่ดินมรดกเคยสงสัยกันบ้างไหมครับและค่าใช้จ่ายเวลาเราไปโอนจะมีค่าใช้จ่ายตัวไหนที่เราจะต้องเตรียมความพร้อมและวางแผนจัดสรรการเงินไว้บ้างเดี๋ยววันนี้จะค่อยเล่าให้ทุกคนฟังกันนะครับ

ที่ดินมรดกคืออะไร
ที่ดินที่เราจะเรียกได้ว่าเป็นที่ดินมรดกนะครับจะต้องเป็นที่ดินที่เจ้าของคนเก่าเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งถ้าเสียชีวิตไปแล้วเนี่ยกรรมสิทธิ์ของที่ดินผืนนั้นหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นนะเนี่ยก็จะตกทอดไปสู่ทายาทเป็นลำดับไหมครับ ดังนั้นการที่เราจะเรียกว่า ที่ดินผืนนั้นบ้านหลังนั้นเป็นมรดกหรือเปล่าข้อแรกเลยเนี่ยคือเจ้าของเดิมจะต้องเสียชีวิตไปแล้วนะครับถ้าเกิดว่ายังมีชีวิตอยู่แล้วโอนให้กันเนี่ยแบบนี้ไม่เรียกว่าการโอนมรดกให้กันนะครับ

ใครมีสิทธิในมรดกบ้าง
ที่นี้มีคำถามตอบมาครับว่าถ้าเจ้าของเดิมเขาเสียชีวิตแล้วเนี่ยใครล่ะจะมีสิทธิ์ในมรดกบนที่ดินผืนนั้นกันบ้างนะครับ แน่นอนครับว่าจะต้องมีเกณฑ์การพิจารณาอยู่แล้วนะว่าลำดับทายาทของการได้รับมรดกต้องแตกต่างกันไปครับและผมขออนุญาตแบ่งเป็น 2 เกณฑ์หลักก่อนนะครับ
ไม่ได้ทำพินัยกรรม
เจ้าของมรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้สิทธิ์ในการได้รับมรดก จะดูตามทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมครับ แบ่งออกมาเป็นลำดับดังต่อไปนี้ครับ
1.ผู้สืบสันดาน(บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
2.ภรรยาหรือสามี (ต้องได้จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น)
3.บิดาและมารดา
4.พี่น้องร่วมสายเลือด ทั้งบิดาและมารดาเดียวกัน
5.พี่น้องร่วมบิดา หรือ มารดาเดียวกัน
6.ปู่ย่า ตายาย
7.ลุง ป้า น้า อา
สิทธิในการรับมรดกก็จะคิดตามลำดับกันมาแบบนี้ครับ
สำหรับส่วนแบ่งมรดกของญาติโดยธรรมตามที่ผมบอกไปด้านบนนี้นะครับมีหลักอยู่ว่า
ญาติลำดับเดียวกัน จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
กระบวนการโอนที่ดินหรือบ้านตรงนี้นะครับก็จะเหมือนกับกระบวนการโอนตามปกตินะครับคือเราต้องไปทำที่กรมที่ดินครับ แต่ที่จะแตกต่างกันก็คือเรื่องค่าใช้จ่ายในการโอนครับ
ถ้าเป็นทรัพย์สินที่เรามีการซื้อขายกันตามปกติค่าโอนก็จะเป็นไปตามที่ผมเคยได้อธิบายไปในคลิปก่อนหน้านี้แล้วนะครับจะมี 5 ตัวหลักๆ
1. ค่าธรรมเนียมการโอน
2. ค่าจดจำนอง
3. ค่าอากรแสตมป์
4. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
5.ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สามารถย้อนกลับไปดูในคลิปได้ที่ https://youtu.be/KMUqp0_YITQ

แต่ในกรณีที่เป็นการโอนที่ดินมรดกจะแตกต่างกันออกไปครับ ในกรณีที่เราโอนที่ดินมรดกจะเหลือค่าใช้จ่ายตัวใหญ่ๆอยู่แค่ตัวเดียวเท่านั้นครับคือค่าธรรมเนียมการโอน ที่จะคิดอยู่ร้อยละ จากราคาประเมินกรมที่ดินครับ
แต่นะครับตรงนี้สำคัญมากๆถ้าเราเป็นบุตรตามกฎหมาย หรือที่ทางกฎหมายเขาจะเรียกว่าผู้สืบสันดานครับ คือถ้าเราเป็นลูกของผู้เสียชีวิตหรือเราเป็นคู่สมรส ค่าโอนจาก 2% จะเหลือแค่ 0.5% เท่านั้นเองครับซึ่งลดลงไปเยอะมากๆเลยนะครับ
และนอกเหนือจากค่าโอนที่เป็นค่าใช้จ่ายหลักที่ผมได้พูดไปแล้วเนี่ยก็จะมีค่าใช้จ่ายยิบย่อยอื่นๆอีกครับยกตัวอย่างเช่น
ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
ค่าประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท

เดี๋ยวผมขอเพิ่มเติมให้หน่อยละกันนะครับว่าสำหรับใครนะที่จะไปโอนมรดกกันที่กรมที่ดินเนี่ยจะต้องมีเอกสารอะไรที่จะต้องเตรียมตัวไปบ้างนะครับในส่วนนี้ผมนำข้อมูลมาจากเว็บไซต์ของกรมที่ดินนะครับ

หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
บัตรประจำตัว
ทะเบียนบ้าน
หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร พินัยกรรม (ถ้ามี)
ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ

อีกตัวนึงนะครับตรงนี้อาจจะมีผลเฉพาะคนที่ได้รับมรดกมาเป็นที่ดินที่มีมูลค่าเยอะๆอาจจะต้องระวังเรื่องค่าใช้จ่ายอีก 1 ตัวนะครับค่าใช้จ่ายตัวนั้นคือ ภาษีมรดก ครับตรงนี้ในคลิปนี้ผมขออนุญาตยังไม่ลงดีเทลแล้วกันนะครับแต่ให้เข้าใจง่ายๆว่าภาษีมรดกจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมูลค่าของมรดกนั้นมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทครับ คิดจากราคาประเมินนะครับ ในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทจะเริ่มมีการคิดภาษีมรดกเข้ามาแล้วนะครับดังนั้นเอาเป็นว่าถ้ามูลค่าของมรดกที่เราได้รับมาไม่เกิน 100 ล้านในส่วนภาษีมรดกเรายังไม่ต้องไปกังวลนะครับเราไม่มีหน้าที่ต้องเสียครับเป็นประมาณนี้

ดังนั้นมาสรุปอีกทีก่อนจากกันไปนะครับสำหรับเรื่องการโอนที่ดินมรดกนะครับเรื่องแรกต้องดูก่อนว่าเจ้าของมรดกได้ทำพินัยกรรมไว้หรือเปล่านะครับถ้าทำก็ไปดูว่าพินัยกรรมนั้นกำหนดให้ใครเป็นผู้มีสิทธิ์ในมรดกผืนนั้นนะครับก็ว่ากันไปตามพินัยกรรมส่วนที่ 2 ถ้าเกิดว่าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้เนี่ยก็มาดูลำดับทายาทนะครับตามที่ผมได้พูดไปแล้วในช่วงต้นคิดนะว่าใครมีสิทธิ์เท่าไหร่นะฮะแบ่งกันไปจากนั้นก็ถึงกระบวนการโอนที่กรมที่ดินครับ สำหรับที่ดินมรดกนะครับการโอนเนี่ยจะจ่ายเฉพาะค่าโอนตัวเดียวเท่านั้นนะครับที่เป็นค่าใช้จ่ายตัวใหญ่ๆหลักๆนะฮะซึ่งถ้าเราเป็นลูกหรือคู่สมรสเนี่ยค่าโอนก็จะเหลือแค่ 0.5 เปอร์เซ็นต์นะครับเป็นประมาณนี้เองนะคะสำหรับเรื่องการโอนที่ดินมรดกครับ

มรดก ที่ดินมรดก โอนที่มรดก โอนมรดก ที่ดินมรดกโอน พ่อโอนมรดก โอนที่ดิน โอนบ้าน

ค่าโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายยังไง อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

โอนเงิน จ่ายบิล ชำระค่าสินค้าและบริการ ครบที่เดียวด้วยแอพจาก ธ.ออมสิน |สอนใช้งาน แอพฯ มายโม่ Mymo


โอนเงิน จ่ายบิล ชำระค่าสินค้าและบริการ ครบที่เดียวด้วยแอพจาก ธ.ออมสิน |สอนใช้งาน แอพฯ มายโม่ Mymo

โอนที่ดินโอนบ้านให้ลูก,คู่สมรส,ญาติ จะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง คิดคำนวนยังไง


โอนที่ดินโอนบ้านให้ลูก,คู่สมรส,ญาติ จะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง คิดคำนวนยังไง
สวัสดีครับวันนี้เรายังคุยกันอยู่ในเรื่องการโอนบ้านการโอนที่ดินนะครับ รู้ไหมครับว่าการที่เราไปโอนบ้านหรือโอนที่ดินเนี่ยให้กับลูก หรือ ภรรยา มันจะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมือนกับเราไปโอนบ้านเวลาเราไปซื้อบ้านกันตามปกตินะครับวันนี้ผมจะมาเล่าให้ทุกคนฟังกันครับว่าถ้าเกิดว่าการโอนบ้านหรือโอนที่ดินเป็นกรณีว่าโอนให้ลูกหรือให้ภรรยาจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างครับ

ผมขอเล่าย้อนไปนิดนึงแล้วกันนะครับว่าการโอนบ้านนะครับหรือว่าโอนที่ดินเนี่ยที่กรมที่ดิน โดยปกติแล้วจะมีค่าใช้จ่ายหลักๆอยู่ 5 ตัวด้วยกันครับ
1. ค่าธรรมเนียมการโอน
2. ค่าจดจำนอง
3. ค่าอากรแสตมป์
4. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
5.ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สามารถย้อนกลับไปดูในคลิปได้ที่ https://youtu.be/KMUqp0_YITQ
แต่ถ้าในกรณีที่เราโอนให้ลูก โอนให้คู่สมรส หรือโอนให้ญาติต้องบอกว่าแต่ละตัวนะครับจะมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมือนกันเลยนะครับเพราะลำดับญาติที่ต่างกันดังนั้นเดี๋ยวผมจะแสดงให้ดูเป็นเคส Case นะครับว่าแต่ละแบบเนี่ยมีการเสียค่าใช้จ่าย ณ กรมที่ดินเท่าไหร่กันบ้างครับ

1.โอนที่ดิน โอนบ้านให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย
ความหมายของคำว่าลูกที่ชอบด้วยกฎหมายของครับ ลูกที่ชอบด้วยกฎหมายคือลูกที่เกิดขึ้นจากสามีและภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันนะครับถูกต้องตามกฎหมาย เขาถึงจะเรียกว่าลูกที่ชอบด้วยกฎหมายครับ ดังนั้นถ้าหากว่าเป็นการโอนบ้านโอนที่ดินจากรูปที่ชอบด้วยกฎหมายจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ 2 ตัวครับ
ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน (ปรกติ 2%)
ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาประเมิน (ไม่เข้าข่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะยกเว้นถ้าไม่เกิน 20 ล้าน (จากราคาประเมิน)ส่วนที่เกินมาคิด 5% ครับ

2.โอนที่ดิน โอนบ้านให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
รูปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็คือลูกนอกสมรสหนะครับ จะเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร ถ้าเป็นการโอนในกรณีนี้มีเงื่อนไขจะแตกต่างจากรูปที่ชอบด้วยกฎหมายนะครับ
ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน (ปรกติ 2%)
ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาประเมิน หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน ดูตามเงื่อนไขที่เคยพูดไปแล้วในคลิปก่อนหน้านี้ครับ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เคสของลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจะไม่มีการยกเว้นเหมือนกับลูกที่ชอบด้วยกฎหมายนะครับ
ถ้าดูจาก 2 เคสแรกนะครับการที่โอนให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมายกับลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนี่ยค่าใช้จ่ายต่างๆจะค่อนข้างสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยนะครับรูปที่ชอบด้วยกฎหมายเนี่ยจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเยอะมากนะครับรวมถึงเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเนี่ยก็ลดหย่อนไปถึง 20 ล้านนะคับดังนั้นแล้วเนี่ยก็วางแผนกันให้ดีๆนะครับจะได้ลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปได้ครับ

3.โอนที่ดิน โอนบ้านให้คู่สมรสตามกฎหมาย
ตรงนี้ขอย้ำนิดนึงนะครับว่าการที่เราจะเป็นคู่สมรสตามกฎหมายกันได้เนี่ยจะมาบอกปากเปล่าว่าเป็นสามีภรรยากันคงไม่ได้นะจะต้องมีทะเบียนสมรสมีหลักฐานการจดทะเบียนกันอย่างชัดเจนนะครับถึงจะเรียกว่าสมรสตามกฎหมาย และถ้าเกิดการโอนบ้านโอนที่ดินจากสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายเนี่ยจะมีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ครับ
ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ซึ่งในเคสของการโอนบ้านโอนที่ดินให้คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเนี่ยก็จะคล้ายๆกับการโอนให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เลยนะครับรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆเนี่ยเหมือนกันเลยมาดูสุดท้ายกันครับ

4. โอนที่ดิน โอนบ้านให้ญาติ
อันนี้ก็จะเป็นการโอนให้คนอื่นที่ไม่ใช่ใน 3 เคสที่พูดมาข้างบนนี้แล้วนะครับอาจจะเป็นลุงป้าน้าอา พี่น้อ งรวมไปถึงตายายด้วยนะครับ พรุ่งนี้จะเหมือนกับการโอนให้บุคคลทั่วไปเลยนะครับก็คือไม่ได้รับสิทธิ์การลดหย่อนเยอะเท่าไหร่จะมีค่าใช้จ่ายตัวนึงที่หายไปครับคือค่าจดจำนองนะไปดูคำว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ค่าธรรมเนียมการโอน 2% (ในส่วนค่าธรรมเนียมการโอนเนี่ยถ้าเกิดว่าเป็นการโอนให้ตายายไปสู่หลาน ที่ชอบด้วยกฎหมายจริงๆหรือภาษากฎหมายเขาเรียกว่าผู้สืบสันดาน ในส่วนนี้ข้าควรจะลดเหลือ 0.5 เปอร์เซ็นต์นะครับ แต่ถ้าเป็นญาติอื่นๆเดี๋ยวก็จะใช้ 2% เลยครับ )
ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สำหรับการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีการคิดแบบขั้นบรรไดครับสามารถเข้าไปดูวิธีคิดกันได้ที่
https://youtu.be/HJVYQbunVDU

ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเป็นค่าใช้จ่ายตัวละสำคัญนะครับที่เป็นจำนวนเงินเยอะๆจริงๆมันจะมีค่าใช้จ่ายใดๆอีกนิดหน่อยครับตรงนี้ขออนุญาตไม่เอามาลง Detail ในคลิปนี้แล้วกันนะครับเพราะมันเล็กๆน้อยๆมากนะฮะดังนั้นแล้วสรุปทีนะครับ การที่จะทำการโอนที่ดินโอนบ้านให้กับญาติต้องดูก่อนว่าญาติคนนั้นมีความสัมพันธ์เป็นยังไงกับเรานะครับ

จริงๆแบ่งออกมาได้เป็น 4 หัวข้อหลักนี่แหละ
1.เป็นลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย
2.เป็นลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3.เป็นคู่สมรสตามกฎหมาย
4.เป็นญาติอื่นๆ

ก็ลองไปดูกันได้นะครับเป็นประมาณนี้ แต่ในกรณีนี้ต้องย้ำอีกทีนะครับว่าเป็นการโอนที่ดินหรือบ้านในขณะที่เจ้าของคนเดิมยังมีชีวิตอยู่นะครับถ้าเป็นในกรณีที่เจ้าของเก่าเสียชีวิตไปแล้วจะเข้าข่ายเป็นในเรื่องการ “โอนที่ดินมรดก” นะครับ ซึ่งรายละเอียดต่างๆก็จะแตกต่างจากนี้ไปนิดหน่อยครับซึ่งผมได้ทำคลิปไว้แล้วนะครับสามารถเข้าไปย้อนดูกันได้นะฮะ

โอนที่ให้ลูก โอนที่ให้ญาติ โอนที่ให้ภรรยา โอนที่ให้สามี โอนที่คู่สมรส โอนที่ลูกบุญธรรม

โอนที่ดินโอนบ้านให้ลูก,คู่สมรส,ญาติ จะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง คิดคำนวนยังไง

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆTips

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *