NỘI DUNG BÀI VIẾT
กฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม 2564 (ฉบบับที่ 3) โดย สมาคมโรแงรมภาคใต้
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม
วันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564 เวลา 13.00 น. สมาคมโรงแรมภาคใต้ ได้จัดประชุมผ่านระบบ ZOOM และได้เชิญตัวแทนของสมาคมที่พักบูติกภูเก็ตเข้าร่วม พร้อมกับได้เชิญอาจารย์อนวัช บูรพาชน วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง มาให้ความรู้อธิบายถึงขอบเขตของกฎกระทรวงฉบับนี้ พร้อมกับประมวลผลของการคงสถานะของที่พักหรือโรงแรมได้รับการผ่อนปรนตามประกาศของ คสช.ที่ 6/2562 หรือ ม.44 ที่ยังไม่สามารถได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม ตาม พรบ.โรงแรม กว่า 45 หมื่นกว่าราย จากทั้งหมดในประเทศ 7 หมื่นราย นั่นหมายถึงกลุ่มผู้ประกอบการส่วนใหญ่อัตราส่วน กว่า 2 ใน 3 เป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่มีขนาดจำนวนห้องพักมากกว่า 4 ห้องขึ้นไป ที่ยังประสบปัญหาความเดือนร้อนในการประกอบอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่ ชุมชน การจ้างงาน รายได้ครัวเรือน ร่วมสร้างสังคมให้มีความเข็มแข็ง ลดภาระพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐ ช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศชาติจากการให้บริการเป็นเงินตราต่างประเทศ จ่ายภาษีให้แก่รัฐและท้องถิ่น เป็นส่วนสำคัญที่ต้องยุติกิจการลงในที่สุดในวันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564 นี้ หากมีผู้ประกอบการใดเปิดกิจการหลังจากนี้ จะเข้าข่ายความผิดตาม พรบ.โรงแรม นี่คือบทบัญญัติโทษการฝ่าฝืนตาม พรบ.โรงแรม ข้อ 2.1 “ฐานประกอบธุรกิจโรงแรม โดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน” (มาตรา มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 59) มีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝาฝืนอยู่องค์ประกอบของความผิด
สรุป
มันจบแล้วสำหรับ โรงแรมเล็กไม่ได้ไปต่อ Phuket Sandbox จะถูกถอดถอนออกรายชื่อออกสำหรับรายที่ได้เดิม และรายใหม่จะไม่สามารถขอเข้า ในระบบ SHA Plus หลังวันที่ 18 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป
มีการนำเสนอชี้แจ้งความผิดทางกฎหมาย ทุกรายจะไม่สามารถเปิดกิจการให้เช่าที่พักแบบรายวันตาม พรบ.โรงแรม ได้อีกต่อไป
กฎกระทรวงใหม่ 2564 ที่ขยายเวลาการปรับปรุงอาคารให้ได้ตามเกณฑ์ พรบ.โรงแรม เงื่อนไขเดิมที่ไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว ไปอีก 3 ปี จะไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ เนื่องจากที่ผ่านมา 5 ปี ยังไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว แม้ว่าต่อขยายออกไป 10 20 ปี ก็จะไม่สามารถทำได้เช่นเดิม
ทางออกที่สามารถทำได้คือ ต้องมีกฎกระทรวง หรือกฎหมายเฉพาะ ที่พักที่ไม่ใช่โรงแรม และจะต้องไม่ไปพูกติดกับ พรบ.โรงแรม ที่มีเกณฑ์เงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคที่ใหญ่เกินกว่าจะผ่านได้ที่เป็นกฎหมายหลายฉบับ เช่น พรบ.ควบคุมอาคาร พรบ.ผังเมือง และ พรบ.สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ความหวังที่พอมีอยู่บ้างตอนนี้อยู่ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่างกฎกระทรวงที่พักที่ไม่ใช่โรงแรม โดยกรมโยธาธิการ และผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งคาดว่าหากไม่มีอุปสรรคใดๆ จะใช้เวลา 1 2 ปี ถึงจะประการใช้ได้
ต่อไปนี้กลุ่มที่พักขนาดกลางเล็กที่ไม่มีใบอนุญาตฯ พลเมืองชาวภูเก็ตจะไม่สามารถร่วมใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่ล้ำค่าเช่น หาดทราย ทะเล แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ รวมไปถึงระบบสาธารณุปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา น้ำใต้ดิน ที่เป็นของส่วนรวมของเกาะภูเก็ตของประเทศชาติ ให้เกิดความเป็นธรรมและการขาดโอกาสในการประกอบอาชีพที่สุจริต เพื่อเลี้ยงครอบครัว ชุมชน สร้างให้สังคมเข็มแข็งในรูปกิจการธุรกิจให้เช่าที่พักแบบรายวันอีกต่อไป
การทบทวนความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการ ปค. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564 DOPA Channel ถ่ายทอดสด การทบทวนความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
เวลา 09.0012.00 น. เรื่อง การทะเบียนราษฎรทะเบียนทั่วไป บัตรประจำตัวประชาชน และสัญชาติ โดย นางสาวอภิญญา อุ่นเรือน ผู้อำนวยการส่วนทะเบียนราษฎร
การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจโรงแรม
การควบคุมและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจโรงแรมให้เป็นไปตามกฎหมาย
“โรงแรม” หมายถึง “สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ เพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใด โดยคิดค่าตอบแทนต่ำกว่ารายเดือน”
การขอจดทะเบียนประกอบธุรกิจโรงแรมต้องดำเนินการตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องก่อน ดังนี้ กฎหมายว่าด้วยผังเมือง กฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
นายทะเบียนโรงแรม ในเขตกรุงเทพมหานคร คือ อธิบดีกรมการปกครอง และในจังหวัดอื่น คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
ปัจจุบันมีโรงแรมที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน ๑๐,๓๙๔ แห่ง และโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาต จำนวน ๙,๖๖๒ แห่ง (ข้อมูลจากกรมการท่องเที่ยว)
การแก้ไขปัญหาโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม โดยออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๙ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ กำหนดลักษณะและมาตรฐานของอาคารที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนการใช้หรือดัดแปลงอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมได้สะดวกขึ้น แต่ยังคงมีความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัยและการป้องกันอัคคีภัยที่เหมาะสมกับขนาดของอาคาร เช่น ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงทุกชั้น ต้องมีบันไดหนีไฟที่เพียงพอ ต้องมีพื้นที่ว่างตามกฎหมายกำหนด
นอกจากนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านการท่องเที่ยว กระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้สถาบันการศึกษาทำการศึกษาวิจัยกฎหมาย เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาสถานที่พักที่ยังเข้าระบบไม่ได้ ให้สามารถประกอบกิจการได้
การดำเนินการควบคุมและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจโรงแรมทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ดังนี้ ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และกำชับเจ้าหน้าที่ให้ป้องกันและปราบปรามการประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบรายชื่อโรงแรมภายในจังหวัดได้ทางเว็บไซต์ของจังหวัด หรือทั่วประเทศได้ทางเวบไซต์ของกรมการปกครอง
สามารถจัดกลุ่มอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม ได้เป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้
๑. กลุ่มที่ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคาร แต่ไม่มาขออนุญาต
ประชาสัมพันธ์และจัดประชุมชี้แจงให้ผู้ประกอบธุรกิจ มายื่นขออนุญาตจดทะเบียนประกอบธุรกิจโรงแรม พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจให้ทราบถึงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการขออนุญาต และบทกำหนดโทษ
๒. กลุ่มที่เข้าข่ายตามกฎกระทรวงฯ
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจอาคารที่มีลักษณะเข้าข่ายอาคารตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยให้ผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาประกอบธุรกิจโรงแรม ดำเนินการขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อาคารนั้นตั้งอยู่
เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ให้มายื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้ทันที
๓. กลุ่มที่ไม่เข้าข่ายตามกฎกระทรวงฯ
เช่น อาคารที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ด้านผังเมือง สิ่งแวดล้อม ที่ดินทับซ้อน เป็นต้น
ให้จังหวัดสำรวจและรวบรวมข้อมูลปัญหาดังกล่าว ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ทั้งนี้ ทั้ง ๓ กลุ่ม ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร่งด่วน และรายงานผลความก้าวหน้าให้กระทรวงมหาดไทยทราบทุกเดือน
สำหรับสถานที่พักที่ได้รับยกเว้นไม่เป็นโรงแรม อาทิ Guest house, Home stay ที่มีลักษณะห้องพักในอาคารเดียวกัน หรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน ๔ ห้อง มีจำนวนผู้เข้าพักรวมกันไม่เกิน ๒๐ คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการหารายได้เสริม ให้ผู้ประกอบธุรกิจมาจดแจ้งสถานที่พักไม่เป็นโรงแรม ต่อนายทะเบียนโรงแรมตามกฎหมายโรงแรม
EP.4 Kinds of cards for build deck การ์ดแต่ละประเภท
มาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว (Tour Operator Standard)
มาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว (Tour Operator Standard)
ประเทศไทยมีมาตรฐานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวไทยให้เป็นที่ประทับใจและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดอันดับโลก สามารถดึงเงินตราจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทย เป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศ
มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา ได้จัดให้การพัฒนามาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว ( Tour Operator Standard) โดยการจัดทำมาตรฐานในการประกอบธุรกิจนำเที่ยว จะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เกิดความเชื่อมั่นต่อการใช้บริการ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaits.org
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Tips