Home » #ภาษี10นาที Ep.5 : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คิดยังไง? เริ่มบังคับใช้ปี 2563 แล้วยังไงต่อ? | ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563 pdf

#ภาษี10นาที Ep.5 : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คิดยังไง? เริ่มบังคับใช้ปี 2563 แล้วยังไงต่อ? | ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563 pdf

#ภาษี10นาที Ep.5 : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คิดยังไง? เริ่มบังคับใช้ปี 2563 แล้วยังไงต่อ?


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

เรื่องภาษีที่หนีกันไม่พ้นต้องพูดถึงกัน นั่นคือ เรื่องของ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 โดยประเด็นสำคัญที่ต้องรู้จะสรุปในซีรีย์ ภาษี10นาที ให้ฟังกันครับ
โดยหลักการของมันคือ ใครเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (เจ้าของกรรมสิทธิ์) จะมีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคิดจากราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น คูณด้วยอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนดไว้
โดยวันที่ดูว่าใครเป็นเจ้าของนั้น เขาจะดูในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี นั่นคือ ถ้าวันที่ 1 มกราคม 2563 เรามีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ก็แปลว่า เรานั่นแหละมีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและปลูกสร้างนั้นๆจ้า
มาถึงตรงนี้ หลายคนเริ่มจะรู้สึกกลัว จนถึงขัันอุทานมาเลยว่า อุ๊ย ภาษีที่ดินมันจะมาเก็บอะไรเราหรือเปล่า มีผลอะไรกับเราบ้างไหม
คำตอบ คือ ภาษีที่ดินมันไม่มาทำอะไรเลยครับ ถ้าหากเราไม่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั่นเอง แต่ถ้าเรามีภาษีที่ดินตรงนี้ก็เกี่ยวกับเราตรงๆจ้า
ผมเขียนบทความไว้ที่นี่ครับ
https://taxbugnoms.co/landandbuildingtax/

1. ภาษีที่ดิน มาแล้วจะเกิดอะไร
อันดับคือมาเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเก็บภาษี โดยถ้ามาจริงก็จะยกเลิกภาษีโรงเรือนและบำรุงท้องที่แน่นอนจ้า
2. ภาษีที่ดิน คิดยังไง
คิดจาก (มูลค่าที่ดิน + สิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี
โดย มูลค่าที่ดินและสิงปลูกสร้าง หลักการคือคิดจากราคาประเมิน
ส่วนอัตราภาษีนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของที่ดิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ที่ดินเกษตร ที่ดินอยู่อาศัย ที่ดินพาณิชยกรรม (อื่นๆ) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยกฎหมายจะกำหนดเพดานอัตราสูงสุดไว้ แล้วจะมีการลดอัตราภาษีตามมาในช่วง 2 ปีแรก นั่นคือ ปี 2563 และ 2564
3. ข้อยกเว้นที่มี ตอนนี้คืออะไรบ้าง
🚫 ยกเว้นให้ 3 ปี กรณีบุคคลธรรมดาที่ใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการ “เกษตรกรรม”
🚫ยกเว้นกรณีที่ดินเพื่ออยู่อาศัย “บ้านหลังหลัก” โดยกรณีที่เป็นทั้งเจ้าของบ้านและที่ดิน จะได้สิทธิยกเว้น 50 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นเจ้าของบ้านอย่างเดียวจะได้สิทธิยกเว้น 10 ล้านบาท
รายละเอียดเพิ่มเติมรับชมได้ในคลิปนี้เลยจ้า
ภาษี10นาที ภาษีที่ดิน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง วางแผนภาษี ลดหย่อนภาษี ภาษี คำนวณภาษี ความรู้ภาษี ภาษีทรัพย์สิน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ โฉนดที่ดิน
ซีรีย์ ภาษี10นาที ซีรีย์ที่สอนเรื่องภาษีโดยพรี่หนอม TAXBugnoms เพื่อให้ความรู้ภาษีเข้าใจง่ายขึ้น ทุกวันอังคารเวลา 2 ทุ่ม เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2562 เป็นต้นไป และจะทำจนกว่าขี้เกียจทำ 555
กด Subscribed เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะจ๊ะ
ติดตามช่องทางอืนๆของพรี่หนอมได้ที่
FB : http://www.FB.com/TAXBugnoms
Twitter : https://twitter.com/TAXBugnoms
Podcast : http://taxbugnoms.podbean.com/

#ภาษี10นาที Ep.5 : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คิดยังไง? เริ่มบังคับใช้ปี 2563 แล้วยังไงต่อ?

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สรุปจบในคลิปเดียว | จ่ายยังไง จ่ายให้ใคร | Guru Living


สรุปจบในคลิปเดียว ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563 | จ่ายยังไง จ่ายให้ใคร Guru Talk

ภาษีที่ดินใครที่ต้องเป็นผู้เสียภาษี ภาษีตัวนี้จัดเก็บโดยหน่วยงานไหน ทำไมต้องเก็บภาษีตัวนี้ และ เสียในอัตราภาษี วันนี้เราจะมาคุยกันถึงทุกประเด็นที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีผลเริ่มบังคับใช้ใน ปี 2563 นี้ครับ
ก่อนอื่นเลยคำถามว่าภาษีที่ดินใครเป็นคนเสีย แน่นอนครับว่าคนที่เสียภาษีต้องเป็นคนที่มีที่ดินครอบครองอยู่ครับไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตามครับ พูดง่ายๆว่าถ้าคุณไม่ได้ครอบครองที่ดิน บ้าน หรือ คอนโด คุณก็ไม่ต้องกังวลไปครับเพราะว่าคุณไม่ต้องภาษีตัวนี้แน่นอนครับ

คำถามคือภาษีตัวนี้ใครเป็นผู้จัดเก็บ ภาษีตัวนี้จะถูกจัดเก็บองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น เทศบาลหรืออบต เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งหมด โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐบาลครับ

หลายคนอาจจะยังสงสัยนะครับว่าทำไมต้องเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีตัวนี้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีประเภทใหม่ที่จะนำมาใช้ ทดแทนการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ที่มีการจัดเก็บมาในช่วงก่อนหน้านี้ครับซึ่งวันนี้เราจะมาคุยถึงรายละเอียดทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินครับ

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในตอนแรกมีผลบังคับใช้เริ่มเก็บตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 แต่ได้มีการเลื่อนระยะเวลาการเก็บไปเป็นเดือนสิงหาคม 2563 ทำให้เรามีเวลาในการเตรียมความพร้อมและศึกษาทำความเข้าใจภาษีตัวนี้มากขึ้นครับ

ก่อนอื่นเลยภาษีที่ดินคิดคำนวนจากอะไร การจัดเก็บภาษีจะคำนวณจาก
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และ การใช้ประโยชน์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น
การใช้งานของที่ดินนั้นแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักและมีการคิดอัตราภาษีที่แตกต่างกันดังนี้ครับ
1. เกษตรกรรม
อัตราที่เราจะต้องเสียภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรคือ
มูลค่า 075 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 100 บาท
มูลค่าเกิน 75100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 300 บาท
มูลค่าเกิน 100500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 500 บาท
มูลค่า เกิน 5001,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 700 บาท)
มูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 1,000 บาท)

2. ที่พักอาศัย เพดานภาษีสูงสุด 0.3%
อัตราการคิดภาษีสำหรับบ้านหลังแรก เป็นเจ้าของเฉพาะบ้าน
มูลค่าไม่ถึง 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี
มูลค่า 1050 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02% (ล้านละ 200 บาท)
มูลค่า 5075 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
มูลค่า 75100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท)

อัตราการคิดภาษีสำหรับบ้านหลังแรก เป็นเจ้าบ้านและที่ดิน
มูลค่าไม่ถึง 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี
มูลค่า 5075 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
มูลค่า 75100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท)

อัตราภาษีบ้านหลังอื่น
มูลค่าไม่ถึง 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02% (ล้านละ 200 บาท)
มูลค่า 5075 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
มูลค่า 75100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท)

ในกรณีบ้านหลังหลักที่เป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน (เจ้าของบ้านอาศัยอยู่เอง) และมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น จะได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทแรก เท่ากับว่า หากเราเป็นมีบ้านพร้อมที่ดินที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทก็ไม่ต้องเสียภาษีในปี 2563 2566 ครับ

3 กลุ่มพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม เพดานภาษีสูงสุด 1.2%
อัตราภาษีที่ดินพาณิชยกรรม
มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% (ล้านละ 3,000 บาท)
มูลค่า 50200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% (ล้านละ 4,000 บาท)
มูลค่า 2001,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% (ล้านละ 5,000 บาท)
มูลค่า 1,0005,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% (ล้านละ 6,000 บาท)
มูลค่า 5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.7% (ล้านละ 7,000 บาท)

4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า พดานภาษีสูงสุด 3%
ดังนั้นแล้วถ้าเราดูอัตราภาษีในทั้ง 4 รูปแบบจะเห็นว่า ที่ดินประเภทรกร้างว่างเปล่าจะมีการเก็บภาษีในอัตราที่สูงที่สุด และในรูปแบบของเกษตรกรรม หรือ ที่อยู่อาศัยก็มีส่วนยกเว้นให้เราอีกเ้วย ดังนั้นถ้าสรุปรวมแล้ว เราควรรับมืออย่างไรกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดี ผมขอสรุปเป็นข้อๆให้เข้าใจง่ายดังต่อไปนี้ครับ
1.เช็คว่าที่ดินหรือทรัพย์ที่เรามีเป็นทรัพย์ที่อยู่ในประเภทไหน
2.ตรวจสอบราคาประเมิณของทรัพย์เรา และลองคำนวนภาษีที่ดินที่เราต้องจ่ายจิงๆออกมา
3.เตรียมเงินที่ต้องจ่ายไว้ล่วงหน้า ทุกๆปี

อันที่จริงแล้วถ้าเราเป็นคนทั่วไปที่มีบ้านแค่หลังเดียวและราคาบ้านไม่เกิน 50 ล้านเราแทบจะไม่ต้องกลัวเรื่องภาษีที่ดินเลยนะครับ เพราะรัฐบาลได้ยกเว้นในส่วนนี้ให้เรา ผมย้ำอีกทีนะครับ ทุกมาตราการ กฎหมายทุกตัว หรือ สิทธิประโยชน์ต่างๆ เราควรศึกษาหาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบ และ เตรียมความพร้อมที่จะเล่นในกติกาอย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวเราเองครับ

ภาษีที่ดิน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีที่ดิน2563 ภาษีที่ดินคอนโด ภาษีที่ดินบ้าน ภาษีที่ดินเลื่อน ภาษีที่ดินเกษตร ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคอนโด ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง2563 ภาษีที่ดินใหม่ ภาษีที่ดินคิดยังไง ภาษีที่ดินคือ ภาษีที่ดินคิดยังไง ภาษีที่ดินจ่าย ภาษีที่ดินเก็บ

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สรุปจบในคลิปเดียว | จ่ายยังไง จ่ายให้ใคร  | Guru Living

บรรยายพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ไฟล์ 1/2


บรรยายความรู้เรื่อง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดย อ.จุมพล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ไฟล์ 1/2

บรรยายพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ไฟล์ 1/2

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562


รวมคลิปประชาสัมพันธ์ พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562

จากที่ดินภ.บ.ท.5 สู่ภ.ด.ส.


จากที่ดินภ.บ.ท.5
สู่ภ.ด.ส.

จากที่ดินภ.บ.ท.5 สู่ภ.ด.ส.

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Tips

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *