Home » [Q\u0026A] เคลียร์ชัด! หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร? พร้อมข้อควรระวังในการยื่นภาษีเงินได้ | การหักภาษีเงินได้

[Q\u0026A] เคลียร์ชัด! หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร? พร้อมข้อควรระวังในการยื่นภาษีเงินได้ | การหักภาษีเงินได้

[Q\u0026A] เคลียร์ชัด! หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร? พร้อมข้อควรระวังในการยื่นภาษีเงินได้


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

เคลียร์ชัด หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้มาแล้วไม่รู้ว่าเป็นเงินได้ประเภทไหน ต้องเสียภาษีหรือไม่ และจะยื่นยังไงให้ถูกต้องที่สุด พรี่หนอม @TAXBugnoms ขออนุญาตมาอธิบายเรื่องนี้ให้ฟังกันครับผม
ขอเล่านิดนึงว่า หลักการของภาษีหัก ณ ทีจ่ายเป็นแบบนี้ครับ คือ
1. คนจ่ายหักภาษีไว้ เอาเงินไปส่งสรรพากร
2. คนมีรายได้ ได้ใบเอกสารหลักฐานการหักภาษี
3. ตอนยื่นภาษี คำนวณออกมาได้เท่าไร ให้เอาภาษีที่ถูกหักไว้ไปลบออก ส่วนต่างก็เสียเพิ่มหรือได้คืนแล้วแต่กรณีไป
รายได้ที่ถูกหักภาษีไว้นี่ ไม่ยื่นไม่ได้นะครับ เพราะถ้าไม่ยื่นก็แปลว่ามีสิทธิโดนตรวจสอบแน่นอนจ้า เพราะสรรพากรมีข้อมูลแล้วจากข้อ 1 (รู้ว่าเรามีรายได้ เนื่องจากมีการจ่ายภาษีล่วงหน้าไว้)
แต่ก็ยังไม่วาย มีคนเข้าใจผิดครับ…คิดว่าถ้าจ่ายยอดเต็มมาแปลว่าไม่หักภาษี แต่จริงๆคือการบวกยอดเพิ่มเข้าไปให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้นต่างหาก
นอกจากนั้น ถ้าถูกหักภาษีไว้ ก็ต้องรวบรวมหลักฐาน (หนังสือรับรอง) เก็บไว้กับตัวตลอดทั้งปี และถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้ถูกต้องด้วย
ส่วนรายได้ที่ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ถ้าไม่ได้รับสิทธิยกเว้นตามกฎหมาย เรามีหน้าที่ต้องเอามารวมคำนวณและยื่นภาษีให้ถูกต้องเช่นกันครับผม
ภาษีเงินได้หักณทีจ่าย ภาษีหัก ภาษีหักณที่จ่าย ถูกหักภาษี จ่ายภาษีล่วงหน้า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษี ยื่นภาษี ยื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต ยื่นภาษีด้วยตัวเอง วางแผนภาษี หนังสือรับรองการหักภาษีณที่จ่าย
กด Subscribed เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะจ๊ะ
ติดตามช่องทางอืนๆของพรี่หนอมได้ที่
FB : http://www.FB.com/TAXBugnoms
Twitter : https://twitter.com/TAXBugnoms
Podcast : http://taxbugnoms.podbean.com/

[Q\u0026A] เคลียร์ชัด! หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร? พร้อมข้อควรระวังในการยื่นภาษีเงินได้

#ภาษี10นาที Ep.4 : ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณแบบไหน? วางแผนอย่างไร?


สรุปวิธีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลแบบง่ายๆ สำหรับคนเริ่มต้นหรือสนใจเรื่องภาษีธุรกิจจ้า กับซีรีย์ ภาษี10นาที ครับผม
มีหลายคนถามเรื่องจดบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือจัดการภาษีเงินได้นิติบุคคลมาหลายครั้ง พร้อมกับบอกพรี่หนอมว่า ทำยังไงให้ขาดทุนดี จะได้ไม่ต้องเสียภาษี เพราะว่านิติบุคคลมันเสียภาษีจากกำไรไม่ใช่เหรอ??
สิ่งที่อยากให้ทำความเข้าใจจากคลิปนี้ คือ
1. กำไรที่เสียภาษี คือ กำไรทางภาษีนะ มันต้องมีการปรับปรุงก่อน ไม่ใช่เอะอะจะทำให้ขาดทุนแล้วไม่เสียภาษีเลย
2. รายการปรับปรุงมี 2 กลุ่ม 4 รายการ คือ
กลุ่มเพิ่มกำไร : คือรายการเพิ่มรายได้ กับ หักค่าใช้จ่าย โดยกลุ่มเพิ่มกำไรที่ว่านี้คือ รายได้ทางภาษีทีต้องเพิ่มขึ้น (กฎหมายบอกให้คิดรายได้เพิ่ม) หรือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องลดลง (กฎหมายไม่ยอมให้เป็นค่าใช้จ่าย)
กลุ่มลดกำไร : คือรายการลดรายได้ กับ เพิ่มค่าใช้จ่าย โดยกลุ่มลดกำไรที่ว่านี้คือ รายได้ทางภาษีที่ลดลง (กฎหมายยกเว้นให้) หรือ ค่าใช้จ่ายหักได้เพิ่มขึ้น (กฎหมายให้สิทธิหักค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
ความเห็นของพรี่หนอมกรณีวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น แตกต่างกับบุคคลธรรมดาตรงทีว่า ควรทำให้ถูกต้องนั่นแหละ ง่ายที่สุดแล้ว โดย ระวังรายการเพิ่มกำไรทั้งหลายว่ามีจุดไหนที่ต้องระวัง และไม่จำเป็นต้องไปหารายการลดรายได้ หรือ เพิ่มค่าใช้จ่ายหรอก เพราะว่ามันไม่ได้มีสิทธิประโยชน์มากขนาดนั้น แต่ถ้ามีโอกาสหรือตรงกับธุรกิจเราก็รีบใช้ซะ!!!
ป.ล. แม้จะพยายามสรุปแต่ละเรืองแบบสั้นๆง่ายๆ แต่จริงๆกฎหมายยาวมาก และมีรายละเอียดเยอะกว่านี้ครับ ดังนั้นคลิปนี้ขอให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลกันก่อนนะครับ
รายละเอียดเพิ่มเติมรับชมได้ในคลิปนี้เลยจ้า
ภาษี10นาที ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล วางแผนภาษี ลดหย่อนภาษี ภาษี คำนวณภาษี ความรู้ภาษี ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำไรทางภาษี กำไร บัญชี
ซีรีย์ ภาษี10นาที ซีรีย์ที่สอนเรื่องภาษีโดยพรี่หนอม TAXBugnoms เพื่อให้ความรู้ภาษีเข้าใจง่ายขึ้น ทุกวันอังคารเวลา 2 ทุ่ม เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2562 เป็นต้นไป และจะทำจนกว่าขี้เกียจทำ 555
กด Subscribed เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะจ๊ะ
ติดตามช่องทางอืนๆของพรี่หนอมได้ที่
FB : http://www.FB.com/TAXBugnoms
Twitter : https://twitter.com/TAXBugnoms
Podcast : http://taxbugnoms.podbean.com/

#ภาษี10นาที Ep.4 : ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณแบบไหน? วางแผนอย่างไร?

เอาเงินออกจากธุรกิจยังไงดี ? ให้เสียภาษีน้อยที่สุด | สอนจัดการเงิน ฉบับคนทำธุรกิจ [1/2]


เอาเงินเราออกจากธุรกิจยังไงดี ? ให้เสียภาษีน้อยที่สุด เจ้าของธุรกิจหลายคนมักจะมีคำถามแบบนี้อยู่บ่อย ๆ แต่ความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เราต้องดูนั้นมีมากมายหลากหลายประเด็นที่ต้องพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเงิน บัญชี และภาษี
ประเด็นแรกที่ต้องห้ามก่อนเลย คือ ห้ามเจ้าของกิจการนำเงินของธุรกิจมาใช้จ่ายส่วนตัว เพราะคิดว่าเป็นเงินของตัวเอง เพราะจริง ๆ แล้วต้องแยกบัญชีและวางแผนทุกอย่างให้ถูกต้องเสียก่อนครับ ซึ่งได้แก่
ความเป็นเจ้าของ เรื่องของทุนและเจ้าหนี้ ธุรกิจเราต้องมีทุนเท่าไร แบ่งสัดส่วนกันอย่างไร ต้องการเงินทุนจากไหนและทางใดบ้าง
สินทรัพย์ที่ต้องมี จำเป็นไหม ใช้ของเจ้าของแล้วให้เช่าได้หรือเปล่า เพราะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เราจะมีรายได้ และธุรกิจเป็นรายจ่าย
การกำหนดผลตอบแทนของเรา เงินเดือน ปันผล โบนัส การงานที่ทำ หลักคิดต่างๆที่ต้องมีเพื่อความสมดุล ทั้ง ภาษี บัญชี และ การเงิน ซึ่งต้องวางแผนให้เหมาะสม
คลิปนี้ชวนมาเสนอทางเลือกและแนวคิดในการตัดสินใจสำหรับเจ้่าของธุรกิจ ว่ามีหลายประเด็นและไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นอย่าลิมวางแผนเรื่องเหล่านี้ให้ดีด้วยนะครับ
0:00 Intro
0:55 แนวคิดพื้นฐาน
1:42 วางแผนเงินเมื่อเริ่มต้นธุรกิจ
4:33 วางแผนจัดการสินทรัพย์
6:40 จ่ายผลตอบแทนยังไงดี
8:07 สรุปแนวคิด

เอาเงินออกจากธุรกิจยังไงดี ? ให้เสียภาษีน้อยที่สุด | สอนจัดการเงิน ฉบับคนทำธุรกิจ [1/2]

เงินเดือนเท่าไรถึงเริ่มเสียภาษี | MONEY 101 EP.8


เปิดวิธีคิดภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือนแบบเข้าใจง่ายๆ รายได้ของเราถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีไหม ถ้าไม่ถึงเกณฑ์ไม่ต้องยื่นจริงหรือไม่ หาคำตอบได้ในรายการ MONEY 101 กับ โค้ชหนุ่มจักรพงษ์ เมษพันธุ์
———————————————
THE STANDARD : STAND UP FOR THE PEOPLE
สำนักข่าวที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารในแนวทางสร้างสรรค์
THE STANDARD Website : http://www.thestandard.co
Facebook : https://www.facebook.com/thestandardth
Twitter : https://twitter.com/thestandardth
Ig : @thestandardth.ig
Money101 KrungthaiAXALife TheStandardco TheStandardth StandUpforThePeople MoneyCoachTH

เงินเดือนเท่าไรถึงเริ่มเสียภาษี | MONEY 101 EP.8

ชี้แจงเรื่อง การเสียภาษีของเกษตรกร กรณีกรมสรรพากรปรับปรุงวิธีการหักค่าใช้จ่าย


ชี้แจงเรื่อง การเสียภาษีของเกษตรกร กรณีกรมสรรพากรปรับปรุงวิธีการหักค่าใช้จ่าย

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆTips

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *