Home » มีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล 3 คน ตายไป 1 คน คนที่เหลือจะจัดการมรดกต่อไปได้หรือไม่ | ผู้จัดการ มรดก ตาม คํา สั่ง ศาล

มีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล 3 คน ตายไป 1 คน คนที่เหลือจะจัดการมรดกต่อไปได้หรือไม่ | ผู้จัดการ มรดก ตาม คํา สั่ง ศาล

มีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล 3 คน ตายไป 1 คน คนที่เหลือจะจัดการมรดกต่อไปได้หรือไม่


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

มีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล 3 คน ตายไป 1 คน คนที่เหลือจะจัดการมรดกต่อไปได้หรือไม่

การต่อสู้คดีอาญา กรณีอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี?


การต่อสู้คดีอาญา กรณีอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี?

การต่อสู้คดีอาญา กรณีอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี?

การตั้งผู้จัดการมรดก โดยขอให้พนักงานอัยการดำเนินการให้ ไม่ต้องจ้างทนายความ


การตั้งผู้จัดการมรดก โดยขอให้พนักงานอัยการดำเนินการให้ ไม่ต้องจ้างทนายความ มีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน การดำเนินงานคุ้มครองสิทธิจะต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการช่วยทางกฎหมายแก่ประชาชนพ.ศ.2533 อันเป็นการดำเนินคดีคุ้มครองสิทธิตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น ร้องขอจัดการมรดก สั่งให้เป็นคนสาบสูญ ร้องขอตั้งผู้ปกครอง ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ประชาชนจำนวนมาก ได้มายื่นคำร้องขอความช่วยเหลือต่อสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) สำนักงานอัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับทรัพย์สินเหล่านั้น
เอกสารที่ใช้ในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้ร้อง 4 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้อง 4 ชุด
3. เอกสารที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดก (ผู้ตาย) 4 ชุด(ทะเบียนสมรส , สูติบัตร ฯ )
4. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้ามรดก (ผู้ตาย) 4 ชุด
5. สำเนาใบมรณะบัตรของเจ้ามรดก (ผู้ตาย) 4 ชุด
6. บัญชีเครือญาติของเจ้ามรดก 4 ชุด
7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ และทะเบียนบ้าน ของทายาทผู้ให้ความยินยอม 4 ชุด
8.สำเนาใบมรณบัตรของบิดามารดาของผู้ตาย หรือหนังสือรับรองการตายกรณีบิดามารดาของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตาย 4 ชุด
9. สำเนาเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก (ผู้ตาย) 4 ชุด(เช่น โฉนดที่ดิน , สมุดเงินฝาก ,ทะเบียนรถยนต์ฯ, ทะเบียนอาวุธปืน)
10. หนังสือให้การยินยอมในการร้องขอจัดการมรดกของทายาท 4 ชุด
11. หลักฐานอื่นๆ ถ้ามี (ใบเปลี่ยนชื่อ , ใบเปลี่ยนนามสกุล) 4 ชุด
หมายเหตุ เอกสารข้อ 6 และ 10 จัดทำที่ สำนักงานอัยการคุ้มของสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ป.พ.พ.มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรือ อยู่นอกราชอาณาเขตหรือเป็นผู้เยาว์
(2) เมื่อผู้จัดการมรดก หรือ ทายาทไม่สามารถ หรือ ไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือ มีเหตุขัดข้องในการจัดการ
หรือในการแบ่งปันมรดก
(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรม ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรมและถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึ่งถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
(3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
เขตอำนาจศาล
ในการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดมรดกถือเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่งมาตรา 4 จัตวา (ที่แก้ไขใหม่ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12 พ.ศ.2534) บัญญัติว่า “คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล ดังนั้น ตามกฎหมายดังกล่าวในการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ในขณะถึงแก่ความตายเท่านั้นแต่ถ้าขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้นเจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาญาจักรการยื่นคำร้องให้ยื่นต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาลนั้น
ขั้นตอนการดำเนินการ
เมื่อมีผู้มาร้องขอให้คุ้มครองสิทธิ หรือ ช่วยเหลือทางกฎหมายที่สำนักงาน นิติกร หรือ ทนายความอาสาจะสอบถามผู้ร้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานบันทึกข้อเท็จจริงให้สมบูรณ์ที่จะดำเนินการตามแบบบันทึกข้อเท็จจริงรวบรวมเอกสารเข้าสำนวนเมื่อพนักงานอัยการรับเรื่องจะตรวจว่าเอกสารครบถ้วนหรือไม่ที่จะดำเนินการถ้าไม่ครบจะแจ้งให้ผู้ร้องขอส่งมาเป็นสำเนาเอกสาร…เมื่อหลักฐานครบถ้วนพอดำเนินการได้…..พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องต่อศาล ชำระค่าฤชาธรรมเนียม ค่าประกาศหนังสือพิมพ์และกำหนดวันนัดไต่สวน แจ้งวันนัดให้ผู้ร้องทราบนำผู้ร้องและต้นฉบับเอกสาร พยานหลักฐาน เข้าไต่สวนตามวันนัด จนศาลมีคำสั่งและส่งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบและขอคัดคำสั่งศาล
ข้อถือสิทธิ
ข้อมูลความรู้กฎหมายในคลิปวีดีโอรวมตลอดถึงคำถาม – คำตอบ ที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาข้อกฎหมายในช่องอำนาจตามกฎหมาย ทางยูทูป (YouTube) จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านกฎหมายแก่ผู้เข้าชมเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้แทนการวินิจฉัยในการดำเนินคดีของทนายความแก่ลูกความเฉพาะรายได้ เนื่องจากการวินิจฉัยปัญหาของลูกความแต่ละรายมีรายละเอียดข้อมูลที่แตกต่างกัน หากมีการนำข้อมูลของทางช่องอำนาจตามกฎหมายไปใช้โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย ทางช่องอำนาจตามกฎหมายจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

การตั้งผู้จัดการมรดก โดยขอให้พนักงานอัยการดำเนินการให้ ไม่ต้องจ้างทนายความ

ถอนผู้จัดการมรดก ที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อสิบกว่าปีก่อนได้ไหม? เล่ามั่วๆตามคำพิพากษา


กรณีศาลมีการตั้งทายาทคนอื่นเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อ15ปีก่อน เราซึ่งเป็นทายาทเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นโดยพินัยกรรมหรือโดยธรรม เรายังจะสามารถคัดค้านและตั้งตัวเราเองขอเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
คำตอบคือ ได้ถ้าคุณมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกนั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินัจการตัดสินใจของศาล แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไปแล้วเมื่อสิบห้าปีที่แล้ว ทายาทอื่นของผู้ตายที่มีส่วนได้เสียก็สามารถยื่นคัดค้านและขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ ไม่จำเป็นต้องให้ทายาททุกคนเซ็นยืนยอมในการขอให้ศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก อีกทั้งจากพฤติการณ์จะพบว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก ศาลจึงมองว่าผู้คัดค้านเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4508/2556
แพ่ง บุคคลที่ต้องห้ามเป็นผู้จัดการมรดก (มาตรา 1718)
แม้ผู้คัดค้านจะยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกถึง 15 ปีเศษ และการที่ผู้คัดค้านไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า ทายาทส่วนใหญ่ยินยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ก็หาเป็นข้อสงสัยและหาได้มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก หากทายาทส่วนใหญ่ไม่ยินยอม เพราะการตั้งผู้จัดการมรดกเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงว่าบุคคลนั้นสมควรที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ เมื่อผู้คัดค้านไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 ทั้งยังได้ความว่า เคยมีบุคคลอื่นจำนำที่ดินทรัพย์มรดกไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จนผู้คัดค้านต้องไปคัดค้าน ประกอบกับมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้คัดค้านจจึงเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

ถอนผู้จัดการมรดก ที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อสิบกว่าปีก่อนได้ไหม? เล่ามั่วๆตามคำพิพากษา

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก


คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆwes-and-vps/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *