Home » ประกันแบบไหน #ลดหย่อนภาษี ได้บ้าง สรุปในคลิปเดียว | ค่าลดหย่อน EP.2 | การ ลดหย่อน ภาษี บุตร

ประกันแบบไหน #ลดหย่อนภาษี ได้บ้าง สรุปในคลิปเดียว | ค่าลดหย่อน EP.2 | การ ลดหย่อน ภาษี บุตร

ประกันแบบไหน #ลดหย่อนภาษี ได้บ้าง สรุปในคลิปเดียว | ค่าลดหย่อน EP.2


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ประกันแบบไหนลดหย่อนภาษีได้บ้าง ? หลายคนสงสัยว่า ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ ไปจนถึง ประกัน ต่าง ๆ แบบไหนที่ ลดหย่อนภาษี ได้บ้าง ?
ในปัจจุบันประกันที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้นั้น มีอยู่ทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพพ่อแม่ และ ประกันบำนาญ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันตัวไหนเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี พรี่หนอมขอแนะนำว่าควรเช็คเงื่อนไขของประกันแต่ละตัวให้ดีเสียก่อนครับ
สำหรับ เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิต กลุ่มนี้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท โดยกลุ่มนี้จะหมายความรวมถึงเบี้ยประกันชีวิตหลายประเภท ได้แก่
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา คือ ประกันชีวิตที่จะจ่ายให้กับผู้รับผลประโยชน์ทันที เมื่อเราเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กรมธรรม์ให้ความคุ้มครองอยู่ แต่เป็นการคุ้มครองในชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ คือ ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ (ตลอดชีวิตของเรา) และถ้าหากเราเสียชีวิตในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ ประกันชีวิตที่มีกำหนดคืนเงินประกันเมื่อครบกำหนดสัญญาเมื่ออายุกรมธรรม์ครบกำหนด โดยเราจะได้รับทั้งเงินคืนพร้อมกับผลตอบแทน ซึ่งเป็นประกันที่นิยมใช้ในเรื่องของการ “สะสมเงิน” มากกว่า “คุ้มครอง” ครับ
ประกันควบการลงทุน (Unit Link) คือ ประกันที่มีทั้งส่วนของประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิต ที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามปกติ แต่อีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปลงทุนในกองทุนรวม เพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายและความเสี่ยงที่ผู้ซื้อประกันยอมรับได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลประกอบการของกองทุนรวมที่ผู้ซื้อประกันเป็นผู้เลือก และบริษัทประกันชีวิตเป็นผู้จัดการดูแลให้อีกต่อหนึ่ง
ส่วน ประกันสุขภาพของตัวเรา เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 25,000 บาท โดยมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา
โดยเงื่อนไขร่วมกันระหว่างประกันชีวิตและประกันสุขภาพ คือ ทั้งสองตัวลดหย่อนภาษีรวมกันได้ไม่เกิน 100,000 บาท ครับ
สำหรับ ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเป็นจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมด้วยว่า เมื่อรวมกับกลุ่มลดหย่อนเพื่อการเกษียณแล้วต้องมีจำนวนเงินไม่เกิน 500,000 บาทอีกด้วยครับ
ประกันสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท และค่าเบี้ยประกันสุขภาพนี้สามารถหารแบ่งกันสำหรับลูกหลาย ๆ คนที่ร่วมกันจ่ายได้ด้วยครับ (เฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม)
โดยคุณพ่อคุณแม่ของเราต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีด้วยครับ
พรี่หนอมทำซีรีส์ ค่าลดหย่อน มาให้เพื่อทำให้ทุกคนเข้าใจเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น ถ้าคิดว่ามีประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ฝากกดติดตามกันด้วยนะครับ
0:00 Intro
0:20 วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคล
1:08 ประกันอะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง
2:08 ประกันลดหย่อนได้เท่าไร
2:48 เงื่อนไขประกันชีวิต
4:52 เงื่อนไขประกันสุขภาพ
6:02 เงื่อนไขประกันบำนาญ
7:39 เงื่อนไขประกันสุขภาพพ่อแม่
8:33 สรุปวิธีเลือกประกันลดหย่อนภาษี

ประกันแบบไหน #ลดหย่อนภาษี ได้บ้าง สรุปในคลิปเดียว | ค่าลดหย่อน EP.2

5 เทคนิคการลดหย่อนภาษีอย่างชาญฉลาด | EP.6 | เงินทองต้องจัดการ


ถึงเวลาต้องยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ประจำปีแล้ว ปีนี้สามารถยื่นได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 รายการเงินทองต้องจัดการ มีเทคนิคการลดหย่อนภาษีมาฝาก ซึ่งไม่ได้มีแค่การหักค่าลดหย่อนเท่านั้น แต่ยังมีเทคนิคอื่น ๆ เคล็ดลับต่าง ๆ ที่จะทำให้สามารถประหยัดภาษีได้มากกว่าเดิม โดยที่คุณอาจจะยังไม่รู้มาก่อน
เงินทองต้องจัดการ วางแผนการเงิน MahidolChannel
ติดตามชม \”เงินทองต้องจัดการ\”
รายการที่จะช่วยบริหารการเงินส่วนบุคคลให้อยู่หมัด
ในฉบับ \”มนุษย์เงินเดือน\” ทาง Mahidol Channel
––––––––––––––––––––
ช่อง YouTube | Mahidol Channel : http://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook | http://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.mahidol.ac.th/th
Website | https://channel.mahidol.ac.th/
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.cm.mahidol.ac.th/cmmu/

5 เทคนิคการลดหย่อนภาษีอย่างชาญฉลาด | EP.6 | เงินทองต้องจัดการ

สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีบุคลธรรมดา ส่วนตัว คู่สมรส บุตร


สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีบุคลธรรมดา ส่วนตัว คู่สมรส บุตร

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี เพื่อทำกำไร และปั้นพอร์ตระยะยาว กับ FinVest l วิธี คัดเลือก กองทุนรวม แบบง่ายๆ


Than Money Trick 🚩 คลิปนี้มาแชร์ทริค ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี บนแอป FinVest กองทุนลดหย่อนภาษี ลงทุนเพื่อทำกำไร และปั้นพอร์ตระยะยาว สายกองทุน ห้ามพลาด!
พร้อมสอนเพื่อนๆ คัดเลือกกองทุนลดหย่อนภาษีแบบง่ายๆด้วยตัวเองด้วย Filter คัดกรองกองทุนที่ใช่สำหรับตัวเอง บนแอป FinVest
แถมด้วยสรุป 5 ธีมการลงทุนที่มาแรง จากกกูรู FinVest เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเพื่อนๆที่กำลังมองหากองทุนลดหย่อนภาษีที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว
!! ตั้งใจฟังให้ดีคลิปนี้มีรางวัลมาแจกด้วยค่ะ✨ !!
เพื่อนๆ ฟังคลิปแล้ว อย่าลืมไปตอบคำถามลุ้นรับรางวัลได้ที่ Facebook ของ FinVest 👉🏻https://www.facebook.com/109489667437094/posts/440219674364090/
ร่วมสนุกได้ตั้งแต่วันนี้ 3 ธันวาคม 2564 ประกาศผลผู้โชคดีวันที่ 13 ธันวาคม 2564
📌 ดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้แอป FinVest ได้เลย https://finvest.onelink.me/CoWV/6af417a8
📌 รายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ คลิก! https://bit.ly/3bRghmc

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี เพื่อทำกำไร และปั้นพอร์ตระยะยาว กับ FinVest l วิธี คัดเลือก กองทุนรวม แบบง่ายๆ

3 เรื่อง #ลดหย่อนภาษี ที่คนมักจะเข้าใจผิด | ค่าลดหย่อน EP.0


พูดถึงเรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็คงหนีไม่พ้นรายการค่าลดหย่อนภาษีประจำปี ที่หลายคนอาจจะอยากรู้และทำความเข้าใจ แต่จริง ๆ ก่อนที่จะไปลดหย่อนภาษี เราต้องทำความเข้าใจเรื่องของการวางแผนลดหย่อนให้ดีเสียก่อน
โดยเรื่องที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดนั้น ได้แก่
1. ลดหย่อนภาษี ไม่ใช่ ลดภาษี ทั้งจำนวน รายการลดหย่อนภาษีประจำปี คือ รายการลดหย่อนในการ คำนวณภาษี แต่ไม่ใช่ว่าจ่ายแล้วจะได้ลดภาษีทั้งหมด ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง โดยเฉพาะวิธีที่เรียกว่า เงินได้สุทธิ
2. ค่าลดหย่อนไม่ใช่ค่าใช้จ่าย การคำนวณภาษีจะมีทั้งรายการค่าใช้จ่ายที่เป็นไปตามรายได้ (ประเภทเงินได้ที่เรามี) แต่ในขณะที่ค่าลดหย่อนจะเป็นรายการส่วนบุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้นอย่าเข้าใจผิดเอามาปนกัน ไม่งั้นจะวางแผนผิดได้
3. ค่าลดหย่อนอัพเดททุกปี ถ้าอยากลดหย่อนได้เยอะ ได้ไว และได้แม่น ต้องคอยอัพเดทติดตามรายการลดหย่อนภาษีไว้ ไม่งั้นอาจจะมีปัญหาได้ ถ้าจำรายการผิด หรือ เอารายการที่ไม่มีสิทธิ์มาใช้ มันก็จะเปลืองเงินเปล่า ๆ นั่นเองครับ
พรี่หนอมทำซีรีส์ ค่าลดหย่อน มาให้เพื่อทำให้ทุกคนเข้าใจเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น ถ้าคิดว่ามีประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ฝากกดติดตามกันด้วยนะครับ
0:00 Highlight
0:40 ลดหย่อนไม่ใช่ลดภาษีเต็ม ๆ
0:56 วิธีการคำนวณภาษี
3:34 ค่าลดหย่อนไม่ใช่ค่าใช้จ่าย
5:17 ตัวอย่างคำนวณภาษีมนุษย์เงินเดือน
6:40 ค่าลดหย่อนเปลี่ยนทุกปี
8:55 สรุป

3  เรื่อง #ลดหย่อนภาษี ที่คนมักจะเข้าใจผิด | ค่าลดหย่อน EP.0

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆTips

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *