Home » การโอนที่ดินมรดกมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และต้องเตรียมตัวยังไงในการโอนที่ดินมรดก | Koy My Property Pro | ค่า โอน ที่ดิน คิด อย่างไร

การโอนที่ดินมรดกมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และต้องเตรียมตัวยังไงในการโอนที่ดินมรดก | Koy My Property Pro | ค่า โอน ที่ดิน คิด อย่างไร

การโอนที่ดินมรดกมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และต้องเตรียมตัวยังไงในการโอนที่ดินมรดก | Koy My Property Pro


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายเท่าไหร่
อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
การรับมรดกที่ดิน, จดทะเบียนผู้จัดการมรดก

เมื่อเจ้าของที่ดินหรือผู้มีชื่อในเอกสารเกี่ยวกับที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข.
ตายลงไป ที่ดินแปลงนั้นก็จะเป็นมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตาย โดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้
1. ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
2. บิดา มารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ถือเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับ
โดยผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินนั้นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ในกรณีมีเอกสารเป็นโฉนดที่ดิน น.ส. ๓ ข. และสำนักงานที่ดินอำเภอ ในกรณีมีเอกสารเป็น น.ส.3, น.ส.3 ก. ถ้าท้องที่ใดที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกเลิกอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามกฎหมายที่ดินแล้ว ไม่ว่าที่ดินจะเป็นโฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก.,น.ส.3 ข. จะต้องไปขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินตั้งอยู่
หลักฐานที่ต้องนำไปประกอบการขอรับมรดก คือ
โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
บัตรประจำตัว
ทะเบียนบ้าน
หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร
พินัยกรรม (ถ้ามี)
ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ

ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดก หลักฐานที่ต้องนำไป คือ
คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก
หลักฐานการตายของเจ้ามรดก
ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก
โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
ค่าประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท
ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ 50 บาท
ค่าจดทะเบียนโอนมรดก 2% ตามราคาประเมินทุนทรัพย์
ในกรณีโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ 0.5%
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกๆท่านนะคะ
ให้เรื่องอสังหาฯเป็นเรื่องง่ายกับ My Property Pro
รับฝากขายเช่าอสังหาริมทรัพย์
ทุกประเภท
ช่องทางการติดต่อ
ทักคุณก้อยⓀⓄⓎ✆℡:
0927878239
0638242656
Line ➲ KoyMyPropertyPro
Line ➲ https://bit.ly/3r639R5
Line ➲ https://bit.ly/2FDfUyz
Line ➲ https://bit.ly/2JsCr0N
Inbox 📩
http://m.me/mypropertypro
……………….
Facebook fan page
https://www.facebook.com/MyPropertyPro9/
……………….
Website
http://mypropertypro.myweb.in.th/
……………….
YouTube ⏩ https://bit.ly/3cl3BCd
TikTok ⏩ https://bit.ly/2Zgrir8

การโอนที่ดินมรดก ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินมรดก รับโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไง สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน ความสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย ทำไมต้องทำสัญญาจะซื้อจะขาย ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายฝากบ้าน คอนโดให้เช่า บ้านเช่า เช่าคอนโด ซื้อบ้าน อสังหาริมทรัพย์ kaidee mypropertypro 4289
Credit : Bensound.com/Freepik.com

การโอนที่ดินมรดกมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และต้องเตรียมตัวยังไงในการโอนที่ดินมรดก | Koy My Property Pro

ค่าโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายยังไง อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง


ค่าโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายยังไง อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง
สวัสดีครับวันนี้ผมจะชวนทุกคุณมาคุยถึงอีก 1 หัวข้อสำคัญมากๆเกี่ยวกับเรื่อง การโอนที่ดินมรดก ครับ ที่ดินแบบไหนที่เขาจะเรียกว่าเป็นที่ดินมรดกเคยสงสัยกันบ้างไหมครับและค่าใช้จ่ายเวลาเราไปโอนจะมีค่าใช้จ่ายตัวไหนที่เราจะต้องเตรียมความพร้อมและวางแผนจัดสรรการเงินไว้บ้างเดี๋ยววันนี้จะค่อยเล่าให้ทุกคนฟังกันนะครับ

ที่ดินมรดกคืออะไร
ที่ดินที่เราจะเรียกได้ว่าเป็นที่ดินมรดกนะครับจะต้องเป็นที่ดินที่เจ้าของคนเก่าเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งถ้าเสียชีวิตไปแล้วเนี่ยกรรมสิทธิ์ของที่ดินผืนนั้นหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นนะเนี่ยก็จะตกทอดไปสู่ทายาทเป็นลำดับไหมครับ ดังนั้นการที่เราจะเรียกว่า ที่ดินผืนนั้นบ้านหลังนั้นเป็นมรดกหรือเปล่าข้อแรกเลยเนี่ยคือเจ้าของเดิมจะต้องเสียชีวิตไปแล้วนะครับถ้าเกิดว่ายังมีชีวิตอยู่แล้วโอนให้กันเนี่ยแบบนี้ไม่เรียกว่าการโอนมรดกให้กันนะครับ

ใครมีสิทธิในมรดกบ้าง
ที่นี้มีคำถามตอบมาครับว่าถ้าเจ้าของเดิมเขาเสียชีวิตแล้วเนี่ยใครล่ะจะมีสิทธิ์ในมรดกบนที่ดินผืนนั้นกันบ้างนะครับ แน่นอนครับว่าจะต้องมีเกณฑ์การพิจารณาอยู่แล้วนะว่าลำดับทายาทของการได้รับมรดกต้องแตกต่างกันไปครับและผมขออนุญาตแบ่งเป็น 2 เกณฑ์หลักก่อนนะครับ
ไม่ได้ทำพินัยกรรม
เจ้าของมรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้สิทธิ์ในการได้รับมรดก จะดูตามทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมครับ แบ่งออกมาเป็นลำดับดังต่อไปนี้ครับ
1.ผู้สืบสันดาน(บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
2.ภรรยาหรือสามี (ต้องได้จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น)
3.บิดาและมารดา
4.พี่น้องร่วมสายเลือด ทั้งบิดาและมารดาเดียวกัน
5.พี่น้องร่วมบิดา หรือ มารดาเดียวกัน
6.ปู่ย่า ตายาย
7.ลุง ป้า น้า อา
สิทธิในการรับมรดกก็จะคิดตามลำดับกันมาแบบนี้ครับ
สำหรับส่วนแบ่งมรดกของญาติโดยธรรมตามที่ผมบอกไปด้านบนนี้นะครับมีหลักอยู่ว่า
ญาติลำดับเดียวกัน จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
กระบวนการโอนที่ดินหรือบ้านตรงนี้นะครับก็จะเหมือนกับกระบวนการโอนตามปกตินะครับคือเราต้องไปทำที่กรมที่ดินครับ แต่ที่จะแตกต่างกันก็คือเรื่องค่าใช้จ่ายในการโอนครับ
ถ้าเป็นทรัพย์สินที่เรามีการซื้อขายกันตามปกติค่าโอนก็จะเป็นไปตามที่ผมเคยได้อธิบายไปในคลิปก่อนหน้านี้แล้วนะครับจะมี 5 ตัวหลักๆ
1. ค่าธรรมเนียมการโอน
2. ค่าจดจำนอง
3. ค่าอากรแสตมป์
4. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
5.ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สามารถย้อนกลับไปดูในคลิปได้ที่ https://youtu.be/KMUqp0_YITQ

แต่ในกรณีที่เป็นการโอนที่ดินมรดกจะแตกต่างกันออกไปครับ ในกรณีที่เราโอนที่ดินมรดกจะเหลือค่าใช้จ่ายตัวใหญ่ๆอยู่แค่ตัวเดียวเท่านั้นครับคือค่าธรรมเนียมการโอน ที่จะคิดอยู่ร้อยละ จากราคาประเมินกรมที่ดินครับ
แต่นะครับตรงนี้สำคัญมากๆถ้าเราเป็นบุตรตามกฎหมาย หรือที่ทางกฎหมายเขาจะเรียกว่าผู้สืบสันดานครับ คือถ้าเราเป็นลูกของผู้เสียชีวิตหรือเราเป็นคู่สมรส ค่าโอนจาก 2% จะเหลือแค่ 0.5% เท่านั้นเองครับซึ่งลดลงไปเยอะมากๆเลยนะครับ
และนอกเหนือจากค่าโอนที่เป็นค่าใช้จ่ายหลักที่ผมได้พูดไปแล้วเนี่ยก็จะมีค่าใช้จ่ายยิบย่อยอื่นๆอีกครับยกตัวอย่างเช่น
ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
ค่าประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท

เดี๋ยวผมขอเพิ่มเติมให้หน่อยละกันนะครับว่าสำหรับใครนะที่จะไปโอนมรดกกันที่กรมที่ดินเนี่ยจะต้องมีเอกสารอะไรที่จะต้องเตรียมตัวไปบ้างนะครับในส่วนนี้ผมนำข้อมูลมาจากเว็บไซต์ของกรมที่ดินนะครับ

หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
บัตรประจำตัว
ทะเบียนบ้าน
หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร พินัยกรรม (ถ้ามี)
ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ

อีกตัวนึงนะครับตรงนี้อาจจะมีผลเฉพาะคนที่ได้รับมรดกมาเป็นที่ดินที่มีมูลค่าเยอะๆอาจจะต้องระวังเรื่องค่าใช้จ่ายอีก 1 ตัวนะครับค่าใช้จ่ายตัวนั้นคือ ภาษีมรดก ครับตรงนี้ในคลิปนี้ผมขออนุญาตยังไม่ลงดีเทลแล้วกันนะครับแต่ให้เข้าใจง่ายๆว่าภาษีมรดกจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมูลค่าของมรดกนั้นมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทครับ คิดจากราคาประเมินนะครับ ในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทจะเริ่มมีการคิดภาษีมรดกเข้ามาแล้วนะครับดังนั้นเอาเป็นว่าถ้ามูลค่าของมรดกที่เราได้รับมาไม่เกิน 100 ล้านในส่วนภาษีมรดกเรายังไม่ต้องไปกังวลนะครับเราไม่มีหน้าที่ต้องเสียครับเป็นประมาณนี้

ดังนั้นมาสรุปอีกทีก่อนจากกันไปนะครับสำหรับเรื่องการโอนที่ดินมรดกนะครับเรื่องแรกต้องดูก่อนว่าเจ้าของมรดกได้ทำพินัยกรรมไว้หรือเปล่านะครับถ้าทำก็ไปดูว่าพินัยกรรมนั้นกำหนดให้ใครเป็นผู้มีสิทธิ์ในมรดกผืนนั้นนะครับก็ว่ากันไปตามพินัยกรรมส่วนที่ 2 ถ้าเกิดว่าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้เนี่ยก็มาดูลำดับทายาทนะครับตามที่ผมได้พูดไปแล้วในช่วงต้นคิดนะว่าใครมีสิทธิ์เท่าไหร่นะฮะแบ่งกันไปจากนั้นก็ถึงกระบวนการโอนที่กรมที่ดินครับ สำหรับที่ดินมรดกนะครับการโอนเนี่ยจะจ่ายเฉพาะค่าโอนตัวเดียวเท่านั้นนะครับที่เป็นค่าใช้จ่ายตัวใหญ่ๆหลักๆนะฮะซึ่งถ้าเราเป็นลูกหรือคู่สมรสเนี่ยค่าโอนก็จะเหลือแค่ 0.5 เปอร์เซ็นต์นะครับเป็นประมาณนี้เองนะคะสำหรับเรื่องการโอนที่ดินมรดกครับ

มรดก ที่ดินมรดก โอนที่มรดก โอนมรดก ที่ดินมรดกโอน พ่อโอนมรดก โอนที่ดิน โอนบ้าน

ค่าโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายยังไง อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

สรุปจบในคลิปเดียว ค่าโอนที่ดิน ค่าโอนบ้าน ค่าโอนคอนโด ค่าใช้จ่ายในการโอนบ้านกรมที่ดิน | Guru Living


สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาคุยกันในอีกหนึ่งหัวข้อที่ได้รับความสนใจกันเป็นอย่างมากนะครับว่าการที่เราไปโอนบ้าน คอนโด หรือที่ดิน ณ กรมที่ดินเนี่ยเราจะมีค่าใช้จ่ายอะไรที่เราต้องเสียบ้างในฐานะทั้งเราเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายก็ตาม วันนี้ผมจะมาอธิบายค่าใช้จ่ายทุกๆอย่างโดยละเอียดเลยครับ

ก่อนอื่นเลยค่าใช้จ่าย ณ กรมที่ดินหากว่าเรามีการซื้อขาย บ้าน คอนโด หรือที่ดินกันจะมี 5 ตัวหลักๆครับคือ
1. ค่าธรรมเนียมการโอน
2. ค่าจดจำนอง
3. ค่าอากรแสตมป์
4. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
5.ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1. ค่าธรรมเนียมการโอน
ค่าธรรมเนียมการโอนโดยปรกติแล้วจะคิดเท่ากับ 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน โดยต้องไม่สับสนกับราคาขาย และ ราคาประเมิณของธนาคารนะครับเป็นคนละตัวกัน ราคาประเมิณกรมที่ดินจะถูกประเมิณโดยอาศัยเกณของกรมที่ดินครับ ซึ่งโดยปรกติทั่วๆไปแล้วราคาจะต่ำกว่าทั้ง ราคาซื้อขาย และ ราคาประเมิณธนาคารครับ
(รัฐบาลได้มีการลดค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 0.01% เฉพาะการซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน ในวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท จนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 เท่านั้น)

2. ค่าจดจำนอง
กรณีซื้อขาย โดยจดจำนอง(กู้สินเชื่อธนาคาร) จะต้องมีการเสียค่าจดจำนองด้วยครับ โดยคิด 1% ของมูลค่าจำนอง พูดง่ายๆคือ 1% ของเงินที่เราไปกู้ธนาคารมาครับ ยกตัวอย่างเช่น เรากู้เงินธนาคาร 2.5 ล้านบ้าท ค่าจดจำนองจะคิด 1% ของ 2.5 ล้าน ได้ออกมาคือ 25,000 บาทครับ

แต่ในปี 2562 นี้ได้มีการปรับลดค่าจดจำนองลงเหลือ 0.01% เฉพาะกรณีที่มีการจำนองกับสถาบันการเงิน ในราคาซื้อขายและวงเงินจำนอง ไม่เกิน 3 ล้านบาท ตามนโยบายกระตุ้นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล จนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ซึ่งหากมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 3 ล้านบาท ค่าจดจำนองยังคงคิด 1% ตามเดิม ทั้งนี้ การจดทะเบียนการโอนและการจดจำนอง ต้องดำเนินการในคราวเดียวกัน

3. ค่าอากรแสตมป์
กรณีซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ หากผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา แล้วมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หรือถือครองมาครบ 5 ปี จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ โดยมีอัตราคิดเป็น 0.5%ของราคาประเมิณกรมที่ดินครับ

เช่น หากบ้านมีราคาประเมิน 1.8 ล้านบาท แต่ราคาซื้อขาย อยู่ที่ 2 ล้านบาท ให้ยึดราคาซื้อขายเป็นเกณฑ์
2,000,000 x 0.5% = เสียค่าอากรแสตมป์ 10,000 บาท
โดยหากเสียค่าอากรแสตมป์แล้ว ไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะอีก
4. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
เมื่อเราขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการซื้อขาย หรือ ได้รับเป็นมรดก จะต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยคิดเป็น 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ แล้วแต่ราคาไหนที่สูงกว่า ยกเว้นแต่ ถ้าเราถือครองที่ดินเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี ค่าภาษีธุรกิจจำเพาะจะถูกยกเว้นครับ
เช่น หากบ้านมีราคาประเมิน 1.8 ล้านบาท แต่ราคาซื้อขาย อยู่ที่ 2 ล้านบาท ให้ยึดราคาซื้อขายเป็นเกณฑ์
2,000,000 x 3.3% = เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 66,000 บาท

5. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย
สำหรับผู้ขาย เมื่อขายอสังหาริมทรัพย์แล้วจะมีค่าใช้จ่ายอีกตัวนึงที่ตามมาครับ แต่ถ้าหากเราเป็นผู้ซื้อค่าใช้จ่ายนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเรานะครับ ค่าใช้จ่ายตัวนี้คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเกณในการเรียกเก็บจะคิดจากราคาประเมินที่ดิน หักค่าใช้จ่ายตามอัตราที่กำหนด หารปีที่ถือครอง คูณอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ถ้าจนถึงตอนนี้ใครยังงงอยู่ไม่เป็นไรนะครับ เพราะสุดท้ายตัวเลขพวกนี้กรมที่ดินเขาจะคิดคำนวนออกมาให้เราครับ เพียงแต่ว่าถ้าเราสามารถคำนวนตัวเลขเหล่านี้ได้ก่อน จะทำให้เราสามารถรู้รายจ่ายที่กำลังจะเกิดขึ้น พร้อมเตรียมรับมือ วางแผนหารายได้มารองรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ครับ
ค่าโอน ค่าโอนที่ดิน ค่าโอนบ้าน ค่าธรรมเนียมการโอน โอนบ้าน โอนที่ โอนที่ดิน ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ค่าจดจำนอง ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีขายบ้าน

สรุปจบในคลิปเดียว ค่าโอนที่ดิน ค่าโอนบ้าน ค่าโอนคอนโด  ค่าใช้จ่ายในการโอนบ้านกรมที่ดิน | Guru Living

How to : คำนวนค่าใช้จ่ายวันโอน ที่ดิน ภาษีขายที่ดิน ง่ายๆเพียง 3 นาที


★☆★ เรียนรู้เพิ่มเติม ★☆★
https://www.facebook.com/Aun.NYTHING/
เนื้อหา
1. โปรแกรมคำนวนภาษีขายที่ดิน
2. อากรณ์แสตมป์
3. ภาษีธุกิจเฉพาะ
4. ข้อยกเว้น ภาษีธุรกิจเฉพาะ

How to : คำนวนค่าใช้จ่ายวันโอน ที่ดิน ภาษีขายที่ดิน ง่ายๆเพียง 3 นาที

[BisProperty EP.11] : \”ค่านายหน้า\” จ่ายกันอย่างไร? แบ่งกันยังไง?


bisproperty นายหน้า อสังหาฯ
รายการ BisProperty
เป็นรายการที่จะบอกเทคนิค วิธีการ หรือประสบการณ์ต่างๆ ของอาชีพนายหน้าโดยเฉพาะ หากสนใจอย่าลืม กดติดตามช่องพวกเราไว้ด้วยนะครับ
สามารถติดต่อพวกเราได้ที่\r
facebook: https://www.facebook.com/Occupationtrip/\r
email: [email protected], , [email protected]\r
line: xeemus

[BisProperty EP.11] : \

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆTips

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *