Home » เมื่อต้องการฟ้อง(ผี)เป็นผู้จัดการมรดก | ตัวอย่าง คำร้อง คัดค้าน ผู้จัดการ มรดก

เมื่อต้องการฟ้อง(ผี)เป็นผู้จัดการมรดก | ตัวอย่าง คำร้อง คัดค้าน ผู้จัดการ มรดก

เมื่อต้องการฟ้อง(ผี)เป็นผู้จัดการมรดก


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ฟ้องผี ผู้จัดการมรดก

เมื่อต้องการฟ้อง(ผี)เป็นผู้จัดการมรดก

คัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกแล้วได้อะไรบ้าง


คัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกแล้วได้อะไรบ้าง

การตั้งผู้จัดการมรดก(ฟ้องผี) ต้องทำอย่างไร


การตั้งผู้จัดการมรดก(ฟ้องผี)
ต้องทำอย่างไร

การตั้งผู้จัดการมรดก(ฟ้องผี) ต้องทำอย่างไร

การคัดค้านการร้องครอบครองปรปักษ์ ได้ที่ดินกลับมาฟรีๆ ดังเช่นคดีวัดสวนแก้ว


การคัดค้านการร้องครอบครองปรปักษ์ หรือทางแก้เมื่อที่ดินคุณถูกครอบครองปรปักษ์นั้น ยังพอมีทางออกครับ ดังต่อไปนี้
การร้องคัดค้านการครอบครองปรปักษ์ สามารถทำได้ 3 ระยะเวลาด้วยกันคือ
การครอบครองปรปักษ์ เป็นการได้กรรมสิทธิในที่ดินมาตามมาตรา 1382 คือเมื่อครอบครองโดยปรปักษ์ครบ 10 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินทันที เจ้าของที่ดินโต้แย้งคัดค้านไม่ได้แล้ว เจ้าของที่ดินแพ้สู้ไม่ได้ตามกฎหมาย…
แต่แม้จะได้กรรมสิทธิ์แล้ว แต่ชื่อในโฉนดที่ดินยังเป็นของเจ้าของเดิมอยู่
จะเปลี่ยนได้ต่อเมื่อมีการยื่นครอบครองปรปักษ์แล้วนำคำสั่งศาลไปโอนทีี่ที่ดินต่อไป ดังเช่น กรณีคดีครอบครองปรปักษ์วัดสวนแก้ว ตามมาตรา 1299 วรรคสอง
ทางแก้ การคัดค้านปรปักษ์ทำได้โดย
๑.ยื่นเรื่องคัดค้านก่อนหรือภายในวันนัดไต่สวนคำร้องขอครอบครองปรปักษ์
๒.ยื่นเรื่องขอพิจารณาคดีใหม่ คัดค้านคำพิพากษาครอบครองปรปักษ์ว่าไม่ถูกต้อง มีการนำความเท็จมาแสดงต่อศาล ดังเช่น คดีวัดสวนแก้ว ที่ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ ได้ที่ดินไปแล้ว และไปโอนขายให้กับทางมูลนิธิสวนแก้วแล้ว แต่ทายาทก็ยังฟ้องคัดค้านการครอบครองปรปักษ์ ได้ที่ดินกลับมาโดยไม่ต้องจ่ายเงินคืนให้วัดสวนแก้วแต่อย่างใด
๓. คัดค้านแก้ไข ก่อนผู้ครอบครองปรปักษ์ยื่นเรื่องต่อศาล คือรู้ก่อนเขายื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ต่อศาล ทำได้ตามมาตรา 1299 วรรคสองตอนท้าย คือโอนขายให้บุคคลภายนอกผู้สุจริตและต้องจดทะเบียนโอนด้วย เพราะผู้ครอบครองปรปักษ์สู้บุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าตอบแทนไม่ได้ครับผม..
สุดท้ายที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ ก็ยังมีทางออกเสมอนะครับ
กฎหมายเพื่อความสุข เพื่อชาวบ้าน
ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา
ดูบทความการคัดค้านการครอบครองปรปักษ์ได้ที่นี้ครับผม.
https://theerawatlaw.blogspot.com/2017/12/blogpost_1.html
ติดตามเราได้ที่เพจนี้ครับ กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตรชีวิตที่ดีกว่า
https://www.facebook.com/TheerawatLaw/
อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามให้กำลังใจกระผมด้วยนะครับ…
แล้วพบกันใหม่ที่บทความกฎหมายดีดีต่อไปครับผม..

การคัดค้านการร้องครอบครองปรปักษ์ ได้ที่ดินกลับมาฟรีๆ ดังเช่นคดีวัดสวนแก้ว

เมื่อถูกฟ้องคดีแพ่งต้องทำอย่างไร? เมื่อจำเลยได้รับหมายศาลต้องทำอย่างไร?


เมื่อถูกฟ้องคดีต้องทำอย่างไร? เมื่อจำเลยได้รับหมายศาลต้องทำอย่างไร?
เมื่อถูกฟ้องคดี อันดับแรกให้ดูหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ท่านได้รับมาว่าเป็นคดีอะไร ตามตัวอย่างของคำฟ้องนี้ก็จะเป็นคดีผู้บริโภค
คดีผู้บริโภค คือ คดีอะไร เข้าใจง่ายๆ ก็จะเป็นคดีประเภท คดีเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ คดีซื้อขายบ้าน คอนโด คดีบัตรเครดิต คดีจำพวกนี้เป็นคดีแพ่งที่ว่าด้วยเรื่องทรัพย์สิน เรื่องเงิน ผลของคดีเมื่อถึงที่สุดแล้วก็จะมีการบังคับคดี ยึดทรัพย์ขายทอดตลาด อายัดบัญชี อายัดเงินเดือน แล้วแต่กรณี แต่จะไม่มีโทษจำคุกนะครับ
การต่อสู้คดีต้องดูทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ดูคำฟ้อง ดูเอกสารท้ายฟ้อง ประกอบกันเพื่อต่อสู้คดี
แต่เนื่องจากผู้ชมอาจจะไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย
ผมมีข้อแนะนำง่ายๆ
1. ดูคำฟ้อง เอกสารท้ายฟ้อง ข้อเท็จจริงต่างๆ ตรงกับความจริงหรือไม่ เช่น ต้นเงินถูกต้องไหม ดอกเบี้ย
เป็นอย่างไร สมเหตุสมผลหรือไม่
2. รวบรวมข้อเท็จจริง หรือเอกสารที่จะใช้โต้แย้ง หรือหักล้างกับคำฟ้องของโจทก์
3. ประเมินความสามารถการชำระเงินของตนเอง เพื่อประกอบการเจรจาในการชำระหนี้
ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญครับ จำเลยจะต้องพิจารณาและตัดสินใจแล้วว่า เมื่อถูกฟ้องคดีมาแล้วจะดำเนินการอย่างไร ตาม 3 แนวทางหลัก
แนวทางที่ 1 จำเลยประสงค์สู้คดี โดยแต่งตั้งทนายความเขียนคำให้การต่อสู้คดี สืบพยานโจทก์ สืบพยานจำเลยและขอให้ศาลพิพากษา
แนวทางที่ 2 จำเลยประสงค์ที่จะชำระหนี้ แต่ขอเจรจาไกล่เกลี่ย เช่น ลดยอดหนี้ ขอลดดอกเบี้ย ขอผ่อนชำระเงินคืน โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
แนวทางที่ 3 จำเลยไม่ประสงค์ต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลพิพากษา เนื่องจากประเมินแล้ว ไม่สามารถชำระเงินคืน หรือผ่อนชำระเงินคืนให้กับทางโจทก์ได้เลย
ซึ่งทั้ง 3 แนวทางข้างต้น จะมีผลทางกฎหมายดังนี้
ผลของแนวทางที่ 1 ประสงค์ต่อสู้คดี แนวทางนี้หากการต่อสู้คดีจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี จำเลยจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาเต็มจำนวน จะไม่สามารถเจรจาเพื่อผ่อนชำระเงินให้กับโจทก์ได้ และจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จ และโจทก์สามารถตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยได้ทันที แต่ในทางกลับกันถ้าจำเลยชนะคดีศาลก็จะมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ก็จะเป็นเรื่องของการอุทธรณ์กันต่อไปครับ
ผลขอแนวทางที่ 2 ประสงค์ชำระหนี้ โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อดี จำเลยสามารถผ่อนชำระเป็นงวดๆ ได้
ข้อเสีย หากจำเลยผิดนัดงวดใดงวดหนึ่ง ถือว่าผิดนัดทั้งหมด โจทก์สามารถตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยได้ทันที
ผลขอแนวทางที่ 3 จำเลยไม่ประสงค์ต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลพิพากษา เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ศาลจะออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับโดยให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ภายใน 15 วันหรือ 30 วัน นับจากวันที่ศาลมีคำพิพากษา และเมื่อครบกำหนดโจทก์สามารถตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยได้ทันที
โดยสรุปแล้ว ทั้ง 3 แนวทาง หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้กับโจทก์ โจทก์สามารถตั้งเจ้าหนักงานบังคับคดี ยึดทรัพย์สิน อายัดบัญชี หรืออายัดเงินเดือนของจำเลยได้ ตามกฎหมายครับ
หากท่านผู้ชมมีข้อสอบถาม หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมาย สามารถสอบถามเข้ามาได้ที่การแสดงความเห็นด้านล่าง
หรือสามารถสอบถามมาได้ที่
ID Line : wasawatstyle
Foreigners can contact me via LINE Application.
ID Line : wasawatstyle
ขอขอบคุณท่านผู้ชมทุกท่านที่มีการติดตามนะครับ

เมื่อถูกฟ้องคดีแพ่งต้องทำอย่างไร? เมื่อจำเลยได้รับหมายศาลต้องทำอย่างไร?

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Tips

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *