Home » ลดหย่อนภาษี เทียบ RMF กับ ประกันบำนาญ เลือกอะไรเป็นแผนเกษียณดีกว่ากัน | EP.6 | ประกันบํานาญ ลดหย่อนภาษี

ลดหย่อนภาษี เทียบ RMF กับ ประกันบำนาญ เลือกอะไรเป็นแผนเกษียณดีกว่ากัน | EP.6 | ประกันบํานาญ ลดหย่อนภาษี

ลดหย่อนภาษี เทียบ RMF กับ ประกันบำนาญ เลือกอะไรเป็นแผนเกษียณดีกว่ากัน | EP.6


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ลดหย่อนภาษี เทียบ RMF กับ ประกันบำนาญ เลือกอะไรเป็นแผนเกษียณดีกว่ากัน
00:00 Intro
02:12 สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี
คำถามที่หลายคนกำลังคิดเปรียบเทียบกันอยู่ในเวลานี้ หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มแล้วอยากวางแผนเกษียณไปด้วยทีเดียว ควรทำประกันบำนาญ หรือซื้อ RMF ดี
สิทธิ์ลดหย่อนภาษีส่วนใหญ่ เป็นสิทธิ์ที่เราใช้จ่ายออกไปก็คือลดความมั่งคั่งของเราลง แต่สิทธิ์ลดหย่อนหมวดการออม เป็นสิทธิ์ที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากได้ภาษีคืนมาแล้ว เรายังมีความมั่งคั่ง (wealth) เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ในบทความนี้จะเปรียบเทียบ 2 สิทธิ์ คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ ประกันบำนาญ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์คล้ายกันในแง่การเตรียมเงินเพื่อวางแผนเกษียณ แต่มีส่วนแตกต่างกันหลายประการที่น่าสนใจเลยค่ะ
ผู้เขียนรวบรวมประเด็นมาได้ 4 ข้อ ดังนี้
06:40
1. รูปแบบการรับเงินคืน ที่แตกต่างกัน
▪︎ RMF จะได้รับคืนเป็นเงินก้อน จากการไถ่ถอนกองทุน เมื่ออายุครบ 55 ปี ซึ่งเราจะต้องวางแผนการถอนเงิน การบริหารผลตอบแทนและความเสี่ยงของเงินก้อนนี้ต่อไปอีกในวัยเกษียณ
▪︎ ประกันบำนาญ จะรับเงินคืนเป็นรายงวดทุกปี ในจำนวนที่ระบุไว้ล่วงหน้าตามสัญญากรมธรรม์ ตั้งแต่อายุ 55,60 หรือ 65 ปี ไปจนถึงอายุ 85 หรือ 90 ปี แล้วแต่สัญญากรมธรรม์
☝ประกันบำนาญเหมาะกับการเตรียมค่าใช้จ่ายพื้นฐานในวัยเกษียณด้วยประกันบำนาญ เพราะมีการจ่ายสม่ำเสมอ ดูแลไปจนอายุ 90 ปี ส่วนเงินก้อนที่ได้มาจาก RMF เราสามารถใช้สร้างผลตอบแทนการลงทุนให้งอกเงยได้อีก ในช่วงเกษียณวัยต้น (6070 ปี) ที่เรายังมีแรงบริหารจัดการเงินก้อนนี้อยู่

2. ความต่อเนื่องในการออม ที่แตกต่างกัน
▪︎RMF ออมในยอดเงินที่ไม่เท่ากันในแต่ละปีได้ ไม่มียอดขั้นต่ำในการซื้อ และเว้นการออมได้ 1 ปี (ออมปีเว้นปีได้) RMF จึงเป็นที่สนใจในเรื่องของสภาพคล่องที่ไม่ต้อง FIX ยอดออมเท่าๆกันทุกปี
▪︎ประกันบำนาญออมยอดเท่าๆกันทุกปีนับตั้งแต่วันเริ่มสัญญาไปจนถึงวัยเกษียณ ทำให้ได้เป้าหมายการออมที่แน่นอน
☝สำหรับการออมเงินเพื่อการเกษียณแล้ว ควรมีเป้าหมายขั้นต่ำของเงินที่ต้องออม ไม่ว่าภาวะสภาพคล่องของเราจะเป็นเช่นไร และจัดสรรส่วนนั้นไว้ที่ประกันบำนาญ ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเป็นการบังคับตัวเองให้ออมต่อเนื่องค่ะ
3. การให้ผลตอบแทน ที่แตกต่างกัน
การออมในประกันบำนาญ คือ การลงทุนในตราสารหนี้ผ่านบริษัทประกัน จะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน ระบุไว้ในกรมธรรม์ตั้งแต่เริ่มทำสัญญา ผลตอบแทนเฉลี่ย ไม่มากไม่น้อย เน้นความมั่นคงปลอดภัย ส่วนการลงทุนใน RMF มีโอกาสได้รับผลตอบแทนมากกว่าประกันบำนาญ แต่ก็มีความเสี่ยงของการลงทุนด้วยเช่นกัน
แต่หากเราศึกษามาอย่างดีแล้ว RMF ก็เป็นช่องทางการสร้างเงินเกษียณได้ดีเลยค่ะ เพราะถูกบังคับให้ออมยาว ถอนออกมาไม่ได้ ก็มีโอกาสรับผลตอบแทนที่เติบโตตามตลาดค่ะ แต่อย่าลืมนะคะ
☝ความเสี่ยงที่สุด คือ การลงทุนในสิ่งที่เราไม่รู้
ถ้าเป็นคนวัยทำงานช่วงต้นมีระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานพอ การลงทุนใน RMF ไม่น่ามีความกังวลเท่าไหร่
แต่คนที่วัยใกล้เกษียณในเวลานี้ เช่นอายุ 50 ปีเป็นต้นไป ที่จำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้ในวัยเกษียณ ซึ่งจะมาถึงในไม่ช้า อาจจะต้องคิดไตร่ตรองมากหน่อย ในภาวะความผันผวนของโรคระบาดและ disruption ต่างๆ ควรจะจัดสรรเงินก้อนที่คิดเผื่อๆไว้ว่าเป็นเงินสำหรับการเกษียณเฟส 2 สามารถลงทุนระยะยาวได้ เช่นอาจจะวางแผนการใช้หลังอายุ 65 หรือ 70 ปีเป็นต้นไป ก็จะไม่เครียดค่ะ
4. ให้ความคุ้มครอง ที่แตกต่างกัน
ประกันบำนาญมีข้อโดดเด่นที่ชัดเจนในตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่ใช่เพียงแค่การันตีความเสี่ยงของการมีอายุยืนเกินไปแล้วเงินจะไม่พอใช้ แต่การันตีความเสี่ยงในช่วงวัยทำงานซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดด้วย
หากเราไม่อายุยืนแต่เราอายุสั้น
ครอบครัวเราก็ปลอดภัย
เราได้เตรียมเงินไว้ให้พวกเขาเพียงพอแล้ว
👉ในความเห็นของผู้เขียน คิดว่าควรมีทั้ง 2 อย่างเป็นเครื่องมือออมเงินเพื่อวัยเกษียณ แต่สัดส่วนที่จะให้น้ำหนักกับวิธีไหนมากกว่า อาจจะแตกต่างกัน ตาม อายุของผู้ออม วินัยการออม ภาระต่อคนข้างหลัง และ ความรู้ในการลงทุนค่ะ
วางแผนการเงินดูนะคะ เพราะ เงินทองต้องวางแผนค่ะ
RMF ประกันบำนาญ
SmartPlanforSmartLife
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
กดติดตามและกระดิ่งแจ้งเตือน เพื่อไม่พลาดอัพเดทความรู้ใหม่ๆ https://www.youtube.com/channel/UC5YacoWGUmZCRMWTVL9Wu4Q?sub_confirmation=1
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
ปรึกษาเรื่องวางแผนการเงิน :
FB Page : https://www.facebook.com/insuredlover/
Line : https://lin.ee/s03xbZv
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
ติดตามฟังสาระดีดีของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลและการพัฒนาตัวเองได้ที่
https://www.insuredlover.com

ลดหย่อนภาษี เทียบ RMF กับ ประกันบำนาญ เลือกอะไรเป็นแผนเกษียณดีกว่ากัน | EP.6

SSF RMF ใครบ้างควรซื้อ ควรซื้อตัวไหน ควรซื้อตอนไหน ควรซื้อเท่าไหร่? ลดหย่อนภาษีได้แค่ไหน? คุ้มมั้ย?


SSF RMF ใครกำลังลังเลว่าควรซื้อมั้ย ซื้อ SSF หรือ ​RMF ดี? หรือซื้อเท่าไหร่ดี? จะรอซื้อปลายปี หรือซื้อเลยดี? ลดหย่อนภาษีได้แค่ไหน? คลิปนี้มีคำตอบ 15นาที เข้าใจ SSF RMF พร้อมตัดสินใจเลย

SSF RMF ใครบ้างควรซื้อ ควรซื้อตัวไหน ควรซื้อตอนไหน ควรซื้อเท่าไหร่? ลดหย่อนภาษีได้แค่ไหน? คุ้มมั้ย?

ประกันแบบไหน #ลดหย่อนภาษี ได้บ้าง สรุปในคลิปเดียว | ค่าลดหย่อน EP.2


ประกันแบบไหนลดหย่อนภาษีได้บ้าง ? หลายคนสงสัยว่า ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ ไปจนถึง ประกัน ต่าง ๆ แบบไหนที่ ลดหย่อนภาษี ได้บ้าง ?
ในปัจจุบันประกันที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้นั้น มีอยู่ทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพพ่อแม่ และ ประกันบำนาญ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันตัวไหนเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี พรี่หนอมขอแนะนำว่าควรเช็คเงื่อนไขของประกันแต่ละตัวให้ดีเสียก่อนครับ
สำหรับ เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิต กลุ่มนี้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท โดยกลุ่มนี้จะหมายความรวมถึงเบี้ยประกันชีวิตหลายประเภท ได้แก่
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา คือ ประกันชีวิตที่จะจ่ายให้กับผู้รับผลประโยชน์ทันที เมื่อเราเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กรมธรรม์ให้ความคุ้มครองอยู่ แต่เป็นการคุ้มครองในชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ คือ ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ (ตลอดชีวิตของเรา) และถ้าหากเราเสียชีวิตในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ ประกันชีวิตที่มีกำหนดคืนเงินประกันเมื่อครบกำหนดสัญญาเมื่ออายุกรมธรรม์ครบกำหนด โดยเราจะได้รับทั้งเงินคืนพร้อมกับผลตอบแทน ซึ่งเป็นประกันที่นิยมใช้ในเรื่องของการ “สะสมเงิน” มากกว่า “คุ้มครอง” ครับ
ประกันควบการลงทุน (Unit Link) คือ ประกันที่มีทั้งส่วนของประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิต ที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามปกติ แต่อีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปลงทุนในกองทุนรวม เพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายและความเสี่ยงที่ผู้ซื้อประกันยอมรับได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลประกอบการของกองทุนรวมที่ผู้ซื้อประกันเป็นผู้เลือก และบริษัทประกันชีวิตเป็นผู้จัดการดูแลให้อีกต่อหนึ่ง
ส่วน ประกันสุขภาพของตัวเรา เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 25,000 บาท โดยมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา
โดยเงื่อนไขร่วมกันระหว่างประกันชีวิตและประกันสุขภาพ คือ ทั้งสองตัวลดหย่อนภาษีรวมกันได้ไม่เกิน 100,000 บาท ครับ
สำหรับ ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเป็นจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมด้วยว่า เมื่อรวมกับกลุ่มลดหย่อนเพื่อการเกษียณแล้วต้องมีจำนวนเงินไม่เกิน 500,000 บาทอีกด้วยครับ
ประกันสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท และค่าเบี้ยประกันสุขภาพนี้สามารถหารแบ่งกันสำหรับลูกหลาย ๆ คนที่ร่วมกันจ่ายได้ด้วยครับ (เฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม)
โดยคุณพ่อคุณแม่ของเราต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีด้วยครับ
พรี่หนอมทำซีรีส์ ค่าลดหย่อน มาให้เพื่อทำให้ทุกคนเข้าใจเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น ถ้าคิดว่ามีประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ฝากกดติดตามกันด้วยนะครับ
0:00 Intro
0:20 วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคล
1:08 ประกันอะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง
2:08 ประกันลดหย่อนได้เท่าไร
2:48 เงื่อนไขประกันชีวิต
4:52 เงื่อนไขประกันสุขภาพ
6:02 เงื่อนไขประกันบำนาญ
7:39 เงื่อนไขประกันสุขภาพพ่อแม่
8:33 สรุปวิธีเลือกประกันลดหย่อนภาษี

ประกันแบบไหน #ลดหย่อนภาษี ได้บ้าง สรุปในคลิปเดียว | ค่าลดหย่อน EP.2

ประกันบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด300,000


ปรึกษาทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันเพื่อลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
ประกันคีย์แมน ประกันควบการลงทุน(Unit Linked) และ รับสมัครตัวแทน
ประกันอุ่นใจ By ดา
https://www.facebook.com/LifeInsuranceByDa
Line: @axada
Tel: 0628965558

ประกันบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด300,000

สำเนาพรบ.ใช้ต่อภาษีรถยนต์ได้หรือไม่?


ฝากช่องใหม่ เกี่ยวกับทะเบียนรถ ประกันภัยต่างๆ ค่ะ
ช่อง Mam Vadee แหม่มว่าดี https://www.youtube.com/channel/UC6oPL6Za_AEDr5NvbUWFC_w

รับทำพรบ.ต่อภาษี ทั่วประเทศ
ประกันรถ ชั้น 1 2+ 3+ 3 เชคเบี้ยฟรี!!!!!
ID Line : pikhun.ka
Facebook Page : พิกุล มิตรแท้ประกันภัยออนไลน์

สำเนาพรบ.ใช้ต่อภาษีรถยนต์ได้หรือไม่?

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่wes-and-vps/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *