Home » รู้ยังพินัยกรรมมีกี่แบบ | พินัยกรรมมีกี่แบบ

รู้ยังพินัยกรรมมีกี่แบบ | พินัยกรรมมีกี่แบบ

รู้ยังพินัยกรรมมีกี่แบบ


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

รู้ไหมพินัยกรรมมีกี่แบบ

รู้ยังพินัยกรรมมีกี่แบบ

พินัยกรรม ทำแบบไหนดี ถึงไม่มีปัญหา?


การทำพินัยกรรมมีด้วยกันห้าวิธีมีรายละเอียดในคลิปครับ

พินัยกรรม ทำแบบไหนดี ถึงไม่มีปัญหา?

พินัยกรรมชีวิตสิทธิที่ควรรู้


พินัยกรรมชีวิตสิทธิที่ควรรู้

#ทำพินัยกรรมแบบไหนดีที่สุด//


#ทำพินัยกรรมแบบไหนดีที่สุด//

พินัยกรรม ทำไมต้องทำพินัยกรรมแล้วพินัยกรรมมีกี่ประเภทและควรทำตอนไหน


ติดตามแฟนเพจของพวกเราได้ที่ : https://www.facebook.com/modernlawth/
พินัยกรรมคืออะไร
พินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้าย ซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือ กิจการต่าง ๆของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะ
เกิดผลบังคับตามกฎหมายในเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย โดยทำแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ (ป.พ.พ. มาตรา 1646 – 1648)
พินัยกรรมแบบธรรมดา
1. ต้องทำเป็นหนังสือโดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ (เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้)
2. ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำ
3. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน จะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่จะใช้ตรา
ประทับแทนการลงชื่อหรือเครื่องหมายแกงไดไม่ได้ และพยานที่จะลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อเพียงอย่างเดียว
4. การขูด ลบ หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ในขณะที่ทำนั้น ได้ลงวัน เดือน ปี
และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
และพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้น (ต้องเป็นพินัยกรรมแล้ว)
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
1. ต้องทำเป็นเอกสาร คือ ทำเป็นหนังสือ โดยจะใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
2. ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ จะพิมพ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้เขียนหนังสือไม่ได้ ไม่สามารถจะทำพินัยกรรม
แบบนี้ได้ พินัยกรรมแบบนี้จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้
3. ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำลง เพื่อพิสูจน์ความสามารถ และการทำก่อนหลังฉบับอื่น
4. ต้องลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ หรือแกงได หรือเครื่องหมายอย่างอื่นไม่ได้
5. การขูด ลบ หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง
และลงลายมือชื่อกำกับไว้
พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
1. ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่นายอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
2. นายอำเภอจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบแล้วนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้น ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
3. เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่นายอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกัน กับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้
ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
4. ข้อความที่นายอำเภอจดไว้นั้น ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี จดลงไว้ด้วยตนเอง เป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำ
ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ
พินัยกรรมทำแบบเอกสารลับ
1. ต้องมีข้อความเป็นพินัยกรรมและลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม
2. ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรม แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึก
3. ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คนและ ให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมด
นั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมเขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนา
ของผู้เขียนให้ทราบด้วย
4. เมื่อนายอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับ และประทับตราประจำ
พินัยกรรมทำด้วยวาจา
1. ผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน
2. พยานทั้งหมดต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอโดยมิชักช้า และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความเหล่านี้
ข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา
วัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม
พฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้
3. ให้นายอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานทั้งหมดนั้นต้องลงลายมือชื่อ ถ้าลงลายมือชื่อไม่ได้ จะลงลายพิมพ์นิ้วมือ
(อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menugeneral/12servicehandbook/general/40generaltestament)

พินัยกรรมกับ ส.ป.ก.
เมื่อทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นสิทธิเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน
ตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 – 01)
สิทธิการเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินจึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518
มาตรา 39 ที่บัญญัติว่า “ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก
หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม”
ดังนี้ สิทธิการเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมเท่านั้น
ไม่อาจตกทอดแก่ทายาทโดยพินัยกรรมได้
(อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.lawyers.in.th/2019/02/02/agriculturallandadvance/)

ใครที่สามารถทำพินัยกรรมได้บ้าง
กฎหมายกำหนดไว้ว่า ต้องอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ถึงจะสามารถทำพินัยกรรมได้
ส่วนอายุจะมากสักเท่าไร หากสติสัมปะชัญญะดีก็สามารถทำได้ตลอด
การทำพินัยกรรม กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า จะยกให้ได้แต่เฉพาะทายาทเท่านั้น
ผู้ทำพินัยกรรมยังสามารถยกให้กับผู้ใดก็ได้ เช่น ยกให้กับพยาบาลที่ดูแลปรนนิบัติตอนเจ็บป่วยเป็นอย่างดี
, ยกให้กับสาวใช้ที่บ้านก็ได้ หรืออาจยกให้กับนิติบุคคลตามกฎหมายก็ได้
อาทิเช่น ยกทรัพย์สินให้แก่วัดหรือให้แก่มูลนิธิต่างๆ เป็นต้น
(อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.jollaw.com/index.php?lay=show\u0026ac=article\u0026Id=539007651\u0026Ntype=2)

พินัยกรรม ทำไมต้องทำพินัยกรรมแล้วพินัยกรรมมีกี่ประเภทและควรทำตอนไหน

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Tips

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *