Home » การคัดค้านผู้จัดการมรดก การเพิกถอนผู้จัดการมรดก | การขอเป็นผู้จัดการมรดก

การคัดค้านผู้จัดการมรดก การเพิกถอนผู้จัดการมรดก | การขอเป็นผู้จัดการมรดก

การคัดค้านผู้จัดการมรดก การเพิกถอนผู้จัดการมรดก


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

การร้องคัดค้านผู้จัดการมรดก การร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดก สามารถทำได้ทั้งก่อนศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก และร้องขอเพิกถอนหลังจากศาลมีคำสั่งเเต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก
การร้องคัดค้านก่อนศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
สามารถทำได้โดยยื่นคำร้องคัดค้านการเป็นผู้จัดการมรดก ภายในวันนัดไต่สวนคำร้องขอจัดการมรดก โดยสามารถร้องเพื่อคัดค้านไม่ให้ทายาทคนนั้นเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากเราเห็นว่าไม่เหมาะสม ไม่เที่ยงธรรม เป็นแล้วคงไม่เเบ่งให้เราแน่ๆๆ แล้วขอให้ศาลแต่งตั้งคนอื่นเป็นผู้จัดการมรดกแทน
ซึ่งศาลอาจให้ไกล่เกลี่ยกัน โดยส่วนมากก็จะตกลงให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็น หรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน
การร้องเพิกถอนผู้จัดการมรดก หลังจากศาลเเต่งตั้งแล้ว
เนื่องจากเป็นผู้จัดการมรดกแล้วไม่ยอมทำหน้าที่ ไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาทคนอื่น จัดการมรดกไม่ชอบ ยักยอกเอาทรัพย์มรดกไปเป็นของตนผู้เดียว
ก็สามารถร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดก แล้วขอแต่งตั้งให้บุคคลอื่นมาทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกแทน
ส่วนทรัพย์สินที่โอนไปโดยมิชอบ ก็สามารถร้องศาลเพื่อขอเพิกถอนนิติกรรมต่างๆ เพื่อนำทรัพย์มรดกกลับมาแบ่งให้กับทายาทผู้มีสิทธิต่อไปครับ
ดูบทความเกี่ยวกับ หลักการแบ่งทรัพย์มรดก อายุความฟ้องมรดก การฟ้องผู้จัดการมรดก
ได้ที่นี้ครับ http://theerawatlaw.blogspot.com/2017/05/blogpost_31.html
สุดท้าย ขอบคุณที่ติดตามชมครับ
อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม สับตะไคร้ ด้วยนะครับ
กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า
ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา

การคัดค้านผู้จัดการมรดก การเพิกถอนผู้จัดการมรดก

สรุปทุกขั้นตอนวิธียื่นเรื่องต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกด้วยตัวเอง​โดยขอความช่วยเหลือจากอัยการ​


ในความไม่รู้ในเรื่องต่างๆเป็นสาเหตุของความกังวล​ ความกลัว​และทำให้เราต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น​ และแหล่งความรู้ที่มีเนื้อหาครบทุกขั้นตอนก็หายาก​ ก็เลยเกิดแรงบันดาลใจในการนำความผิดพลาดของตัวเองมาเล่าสู่กันฟัง​ค่ะ
จากประสบการณ์ที่ทำเรื่องนี้หลายครั้งทำให้ต้องเสียเวลา​เช่น
การถ่ายสำเนาบััญชีธนาคารต้องถ่ายหน้าแรกที่ทีชื่อเจ้าของบัญชี​และหน้ายอดตัวเงินล่าสุดด้วย​ถ่ายไว้ในแผ่นเดียวกัน
สำเนาโฉนดที่ดินแผ่นใหญ่ต้องย่อลงกระดาษเอ
4
การขอหนังสือรับรองการตาย​ ต้องนัดกับทางอำเภอล่วงหน้า
การแต่งตัวไปศาลเป็นชุดสุภาพ​ ผู้หญิงนุ่งกางเกงได้​ ทุกคนควรใส่รองเท้าหุ้มส้น
ก่อนขึ้นเบิกความหรือไต่สวน​ต้องมีการสาบานตนก่อนตามหลักของแต่ละศาสนา​
เวลาอยู่ในห้องพิจารณาคดี​ ห้ามสูบบุหรี่​ห้ามถ่ายภาพ​ ปิดโทรศัพท์​ ไม่สวมรองเท้าแตะ
ไปถึงศาลแล้วให้ดูที่บอร์ดก่อนว่าต้องเข้าที่ห้องไหนซึ่งเขาจะบอกว่าบัลลังก์ไหน​เช่นบัลลังก์1
หมายถึงห้องพิจารณาคดีที่1

สรุปทุกขั้นตอนวิธียื่นเรื่องต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกด้วยตัวเอง​โดยขอความช่วยเหลือจากอัยการ​

เมื่อต้องการฟ้อง(ผี)เป็นผู้จัดการมรดก


ฟ้องผี ผู้จัดการมรดก

เมื่อต้องการฟ้อง(ผี)เป็นผู้จัดการมรดก

เมื่อทรัพย์มรดกไม่ได้แบ่ง แล้วเจ้ามรเกตาย ทายาทจะต้องทำยังไง


เมื่อทรัพย์มรดกไม่ได้แบ่ง แล้วเจ้ามรเกตาย ทายาทจะต้องทำยังไง

เมื่อทรัพย์มรดกไม่ได้แบ่ง แล้วเจ้ามรเกตาย ทายาทจะต้องทำยังไง

การตั้งผู้จัดการมรดก ผู้ใดสามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ ต้องใช้เอกสารใดบ้าง


การตั้งผู้จัดการมรดก ผู้ใดสามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ ต้องใช้เอกสารใดบ้าง
ความหมายของผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดก คือ บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก เพื่อทำหน้าที่รวบรวม ทำบัญชี และแบ่งปันทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย
คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
1. บรรลุนิติภาวะ ( มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ )
2. ไม่เป็นคนวิกลจริต
3. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
4. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
1. ทายาท (ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม)
2. ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
3. พนักงานอัยการ
ทายาท มี 2 ประเภท คือ
1. ผู้รับพินัยกรรม คือ ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกตามที่ผู้ตายกำหนดไว้ในพินัยกรรม
2. ทายาทโดยธรรมคือ ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย มี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายด้วย
หน้าที่ของผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม ตลอดจนชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีทรัพย์มรดก และทำรายการแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งมรดก โดยต้องจัดการไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่มรดก จะทำนิติกรรมใดๆ ที่เป็นปรปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้
เอกสารที่ต้องนำมายื่นขอเป็นผู้จัดการมรดก
1. สำเนาใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรองการตายของผู้ตายและทายาททุกคนที่เสียชีวิตแล้ว
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตายที่เจ้าหนาที่ประทับว่า \”ตาย\” แล้ว
3. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและทายาททุกคนที่มีชีวิตอยู่
4. ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่า ของสามีภรรยาของผู้ตาย
5. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล กรณีเอกสารไม่ตรงกัน
6. สูติบัตรของบุตรกรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ
7. พินัยกรรมของผู้ตาย (ถ้ามี)
8. หนังสือให้ความยินยอมของทายาทที่เซ็นยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่
9. บัญชีเครือญาติที่ถูกต้องตามความจริง
10. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ต้องจัดการ เช่น โฉนดที่ดิน, น.ส. 3, สมุดเงินฝาก, ทะเบียนรถ ฯลฯ
ข้อถือสิทธิ
ข้อมูลความรู้กฎหมายในคลิปวีดีโอรวมตลอดถึงคำถาม – คำตอบ ที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาข้อกฎหมายในช่องอำนาจตามกฎหมาย ทางยูทูป (YouTube) จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านกฎหมายแก่ผู้เข้าชมเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้แทนการวินิจฉัยในการดำเนินคดีของทนายความแก่ลูกความเฉพาะรายได้ เนื่องจากการวินิจฉัยปัญหาของลูกความแต่ละรายมีรายละเอียดข้อมูลที่แตกต่างกัน หากมีการนำข้อมูลของทางช่องอำนาจตามกฎหมายไปใช้โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย ทางช่องอำนาจตามกฎหมายจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

การตั้งผู้จัดการมรดก ผู้ใดสามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ ต้องใช้เอกสารใดบ้าง

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *